วันอังคารที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่16

บันทึกอนุทิน
วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี  2 ธันวาคม พ.ศ.2557
ครั้งที่ 1ุ6 กลุ่มเรียน 101 (วันอังคาร ตอนเที่ยง)
เวลาเข้าเรียน 12:20 – 15:00 น. ห้อง 234 อาคาร 2

     สัปดาห์นี้เป็นชั่วโมงเรียนคาบสุดท้าย วันนี้อาจารย์ได้แจกของรางวัลเด็กดีให้กับเพื่อนๆ พร้อมทั้งพูดคุยกับนักศึกษา 3 เรื่อง
     เรื่องที่ 1 กำหนดส่งบล็อก วันอาทิตย์ที่ 21 ธันวาคม 2557 ก่อนเที่ยงคืน
     เรื่องที่ 2 เตือนวันที่สอบให้ทุกคนเตรียมตัวให้พร้อม ดูห้อง เลขที่สอบให้ละเอียด
     เรื่องที่ 3 พูดในเรื่องใครที่สอบกลางภาคไม่ผ่านให้ไปพบอาจารย์
จากนั้นอาจารย์แนะแนวเรื่องสอบปลายภาคให้กับนักศึกษา พร้อมให้ทุกคนเขียนใบประเมินการสอนในรายวิชานี้
เพื่อนๆที่ได้รางวัลเด็กดี

รางวัลเด็กดีของดิฉันค่ะ^^


การประเมินผล
  • การประเมินตนเอง - แต่งกายสะอาดเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลา วันนี้ได้รางวัลเด็กดี รู้สึกตกใจที่ได้ เพราะคิดว่าไม่น่าจะได้ แล้วก็สนุกมากเวลาที่อาจารย์เล่าเรื่องต่างๆ สนุกตลก ชอบเวลาที่อาจารย์ร่าเริงพูดไพเราะ เสียงนุ่มๆน่าฟัง และตั้งใจเขียนใบประเมินมากๆได้ความรู้มากจากการเรียนวิชานี้ อยากจะเรียนกับอาจารย์ทุกวิชาเลยค่ะ
  • การประเมินเพื่อน - แต่งกายสะอาดเรียบร้อย สนุกสนานกับการเรียน มีเสียงหัวเราะตลอดไม่ขาดสาย ทุกคนตั้งใจเขียนแบบประเมิน
  • การประเมินอาจารย์ - การแต่งกายสะอาดสุภาพ อาจารย์พูดจาไพเราะน่าฟังตั้งแต่ชั่วโมงแรกที่เรียนด้วยกัน เสมอต้นเสมอปลาย น่ารักกับนักศึกษาทุกคนไม่มีแบ่งว่าใครคนไหนเด็กอาจารย์นะ ยุติธรรมในการให้คะแนและการสอน ใส่ใจนักเรียนทุกคน
คลิกๆๆ เข้าไปเยี่ยมแฟนเพจกัน...

วันอังคารที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่15

บันทึกอนุทิน
วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี  25 พฤศจิกายน พ.ศ.2557
ครั้งที่ 15 กลุ่มเรียน 101 (วันอังคาร ตอนเที่ยง)
เวลาเข้าเรียน 12:20 – 15:00 น. ห้อง 234 อาคาร 2

     วันนี้เรียนในหัวข้อ การส่งเสริมพัฒนาการและการปรับพฤติกรรมเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ เด็กสมาธิสั้น(ADHD)
Mind Map

ห้องเรียนแรกของเด็กพิเศษ

     เมื่อดู VDO เสร็จอาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม 6-7 คน เขียน Mind Map ในหัวข้อเรื่อง ศูนย์ EI
     1.การส่งต่อจากครอบครัวหรือผู้เชี่ยวชาญ คือ ส่งต่อมาจากแพทย์หรือเด็กที่มีความพิการตั้งแต่แรกที่เห็นชัด เราก็จะมาสัมภาษณ์เบื้องต้น
     2.ประเมินพัฒนาการตามวัย
     3.การจัดแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล คือ เพื่อวางแผนการเรียนรู้เฉพาะทักษะ 6 ด้าน ส่วนการจัดแผนการศึกษาเฉพาะครอบครัว เด็กอายุ 0-3 ขวบ จะจัดแผน IFSP
     4.การจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะอย่างรอบด้าน
     5.การประเมิน
การออกแบบกิจกรรมเพื่อกระตุ้นพัฒนาการอย่างรอบด้าน
  • กิจกรรมพัฒนาการเคลื่อนไหว การทรงตัว ภาษา
  • กิจกรรมพัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่ กล้ามเนื้อมัดเล็ก และสมาธิ
  • กิจกรรมพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก การรับรู้สัมผัส
  • กิจกรรมพัฒนาทักษะการมอง ทำตามคำสั่งและการสื่อสาร
  • กิจกรรมพัฒนาทักษะการมอง ทำตามคำสั่งและพื้นฐานวิชาการ
  • กิจกรรมพัฒนาทักษะการฟัง การทรงตัว การสัมผัส
ความรู้เพิ่มเติม
     Early Intervention : EI การให้บริการช่วยเหลือผู้ที่มีความบกพร่องประเภทต่างๆ ตั้งแต่แรกเกิดหรือแรกพบความพิการตามความต้องการจำเป็นพิเศษของแต่ละบุคคลโดยมุ่งการให้ความช่วยเหลือเริ่มต้นเร็วที่สุด ก็จะสามารถทำให้เด็กได้รับประโยชน์มากขึ้นเท่านั้น
1. ความหมายของการให้บริหารช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม ( Early Intervention : EI )
     การให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม (Early Intervention : EI ) หมายถึงการจัดโปรแกรมที่เป็นระบบในการให้บริการด้านต่าง ๆ โดยเร็วที่สุดแก่เด็กที่มีความเสี่ยงทุกระดับทันทีตั้งแต่แรกเกิดหรือทันที ที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีความพิการ โดยมุ่งเน้นการให้การศึกษากับพ่อแม่และครอบครัว ทั้งนี้มุ่งพัฒนาเด็กให้ได้รับบริการจากนักวิชาชีพที่หลากหลายทั้งด้านการ ศึกษา ด้านสุขภาพอนามัย การบำบัดรักษา ตลอดจนป้องกัน ความพิการที่จะเกิดขึ้นเพื่อให้เด็กมีพัฒนาการไปตามขั้นตอน เช่นเดียวกับเด็กทั่วไป หรือใกล้เคียงเด็กทั่วไปมากที่สุด
2. ความสำคัญในการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม
     เบญจา ชลธาร์นนท์ (2538) ได้กล่าวถึงเหตุผลความจำเป็นที่ต้องให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มไว้ 4 ประการ ดังนี้
     (1) การให้การช่วยเหลือในระยะแรก ๆ ของชีวิตจะช่วยค้ำจุนพัฒนาการของเด็กและทำให้เด็กสามารถพัฒนาได้ถึงขีดสูงสุด
     (2) หากไม่ให้การช่วยเหลือที่ครอบคลุมทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านสุขภาพอนามัย ด้านจิตวิทยาและการศึกษาแล้ว เด็กที่มีความบกพร่องและเด็กที่อยู่ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง (High risk group) ที่มีปัญหาในเรื่องพัฒนาการ อาจไม่สามารถพัฒนาทักษะของเขาในวัยตอนต้นของชีวิตและพัฒนาความสัมพันธ์ ที่จำเป็นที่จะดำเนินชีวิตอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
     (3) การให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มมีจุดมุ่งหมายสำคัญ เพื่อป้องกันความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นก่อนหรือระหว่างคลอด และแก้ไขความบกพร่องนั้น
     (4) การที่ประเทศไทยได้ยึดถือเอา “การเรียนร่วม” เป็นรูปแบบหนึ่งในการจัดบริการการศึกษาพิเศษให้แก่เด็กที่มีความบกพร่องต่าง ๆ เด็กเหล่านี้จำเป็นต้องได้รับบริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม หรือการศึกษาระยะแรกเริ่ม เพื่อเตรียมให้สามารถเข้าเรียนร่วมในระดับอนุบาลศึกษา และประถมศึกษาต่อไป
ดังนั้นการให้ความช่วยเหลือเด็กพิการจึงควรเริ่มโดยเร็วที่สุด การให้ความช่วยเหลือเร็วเท่าใดยิ่งทำให้เด็กได้รับประโยชน์มากขึ้นเท่านั้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการค้นหาสภาพความพิการได้เร็วนั่นเอง

การนำไปประยุกต์ใช้
     สามารถนำความรู้เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมให้เหมาะสมตามวัยของเด็ก ว่าเด็กสมาธิสั้นควรได้รับการฝึกฝนอย่างไร เช่น กิจกรรมพัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่ กล้ามเนื้อมัดเล็ก และสมาธิ เราต้องมีจุดมุ่งหมายให้เด็ก คือ กิจกรรมเราอาจฝึกให้เด็กเดินก้าวข้ามสิ่งของไปข้างหน้า และไปหยิบสิ่งของ เช่น เราวางแท่งไม้รอยลูกปัดเอาไว้เมื่อถึงโต๊ะให้เขาหยิบลูกปัดใส่ลงไปในแท่งไม้แล้วเดินข้ามสิ่งของกลับมายังจุดเริ่มต้น ซึ่งจะฝึกการใช้กล้ามเนื้อมือกับตาให้สัมพันธ์กัน ฝึกสมาธิ

การประเมินผล
  • การประเมินตนเอง - การแต่งกายสะอาดเรียบร้อยถูกระเบียบ เข้าห้องเรียนตรงต่อเวลา ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน จดเนื้อหาเพิ่มเติม รู้สึกสนุก หัวเราะ เวลาที่อาจารย์สมมติเหตุการณ์ต่างๆขึ้นมาทำให้บรรยากาศในห้องไม่เครียด ตอนดูวีดีโอชอบวิธีการจัดกิจกรรมของเขา อย่างถ้าเราคิดว่าจะรับมือไหวไหมเจอเด็กสมาธิสั้นแล้วเราจะจัดกิจกรรมอย่างไร คงยากคิดไม่ออก แต่พอดูแล้วรู้สึกว่ามันไม่ได้มีอะไรยุ่งยากอย่างที่คิด การจัดกิจกรรมมีวิธีไม่ซับซ้อน เด็กได้พัฒนาการตามวัย เข้าใจเด็กค่อยๆฝึกฝน
  • การประเมินเพื่อน - แต่งกายสะอาดเรียบร้อย สนุกสนานกับการเรียน ทุกคนต่างสนใจในการเรียนการสอน และตั้งใจฟังอาจารย์ยกตัวอย่างประสบการณ์ต่างๆ มีเสียงหัวเราะตลอดเวลา แต่พอถึงเวลาดูวีดีโอ เพื่อนๆก็ตั้งใจฟังและจดบันทึกเนื้อหา พอทำงานกลุ่มทุกคนก็ช่วยเหลือกันอย่างเต็มที่ ช่วยกันหาข้อมูล ตกแต่งงาน
  • การประเมินอาจารย์ - การแต่งกายสะอาดสุภาพ อาจารย์สอนเนื้อหาละเอียด มีประสบการณ์มาเล่าให้ฟังเยอะแยะทำให้เด็กนึกภาพตามได้ตลอด แสดงบทบาทสมมติทำให้นักศึกษาเกิดเสียงหัวเราะ สนุกสนานในการเรียน ไม่เครียด วีดีโอเหมาะสมกับเนื้อหาในการเรียนดีมาก 
คลิกๆๆ เข้าไปเยี่ยมแฟนเพจกัน...

วันอังคารที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่14

บันทึกอนุทิน
วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี  18 พฤศจิกายน พ.ศ.2557
ครั้งที่ 14 กลุ่มเรียน 101 (วันอังคาร ตอนเที่ยง)
เวลาเข้าเรียน 12:20 – 15:00 น. ห้อง 234 อาคาร 2

     วันนี้ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจาก นักศึกษาชั้นปีที่ 3 เอกการศึกษาปฐมวัย จัดโครงการ ครูปฐมวัยร่วมใจอนุรักษ์สืบทอดความเป็นไทย มีชุดการแสดงทั้งหมด 9 ชุด ซึ่งกลุ่มเรียน 101 มีการแสดงนาฏศิลป์ประยุกต์ เพลง หางเครื่อง และนิทาน

การแสดงชุด นาฏศิลป์ประยุกต์
(เพลง หางเครื่อง)

การแสดง นิทาน

การแสดงชุด ระบำดอกบัว
(น้องๆจากโรงเรียนสาธิต)

การแสดงชุด ระบำเงือก

การแสดงชุด รำขวัญข้าว

การแสดงชุด ระบำสี่ภาค

การแสดงชุด เซิ้งตังหวาย

 การแสดงชุด รำพัดเกาหลี

การแสดงชุด จินตลีลา
(พ่อของแผ่นดิน)

การนำไปประยุกต์ใช้
     การแสดงในแต่ละชุด ท่ารำเราสามารถนำไปสอนเด็กปฐมวัยได้ ประยุกต์ท่าในแบบต่างๆ การนำไปสอนเด็กนั้นเราก็ควรคำนึงถึงความยากง่ายของท่าด้วย ควรสอนท่าที่เด็กสามารถทำได้ไม่ยากเกินไป
การประเมินผล
  • การประเมินตนเอง - วันนี้ในการแสดงนาฏศิลป์ประยุกต์ดิฉันแสดงอย่างเต็มที่และตั้งใจมาก เตรียมตัวมาเป็นอย่างดี ในเรื่องชุดมีคันบ้างเพราะเครื่องประดับเยอะ ไม่ค่อยชอบกระโปรงรู้สึกใส่แล้วดูรุงรัง เกะกะ ตอนเคลื่อนไหวขณะแสดงทำให้กังวลว่าเพื่อนจะเหยียบ รึเราจะเหยียบกระโปรงไหม และห่วงเครื่องประดับบนศีรษะจะหลุดหรือเปล่า ตอนที่แสดงอาจมีตื่นเต้นนิดหน่อยแต่ก็ผ่านพ้นมาด้วยดี แต่เพราะพักผ่อนไม่เพียงพอ ซ้อมการแสดง กลับดึกบ่อย และต้องตื่นเช้าเลยทำให้ไม่สบายช่วงบ่ายๆที่ต้องประชุมสรุปงานโครงการ มีเบื่อๆที่อาจารย์พูดยื้อเยื้อ แต่งานในวันนี้ถือว่าทำเต็มที่ 100 % ค่ะ ให้ความร่วมมือกับเพื่อนๆ
  • การประเมินเพื่อน - การแสดงชุดอื่นๆ เพื่อนๆทำออกมาได้ดีและสวยงามมาก แต่ละชุดก็แตกต่างกันออกไป เพื่อนที่เป็นพิธีกรพูดจาฉะฉาน ออกเสียง ร ล ถูกต้อง เสียงน่าฟัง เพื่อนที่มานั่งดูให้กำลังใจน่ารัก ทุกคนช่วยเหลือกัน ทำให้งานออกมาค่อยข้างดี อาจมีผิดพลาดบ้าง
คลิกๆๆ เข้าไปเยี่ยมแฟนเพจกัน...

วันอังคารที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่13

บันทึกอนุทิน
วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี  11 พฤศจิกายน พ.ศ.2557
ครั้งที่ 13 กลุ่มเรียน 101 (วันอังคาร ตอนเที่ยง)
เวลาเข้าเรียน 12:20 – 15:00 น. ห้อง 234 อาคาร 2

     วันนี้เรียนในหัวข้อ การส่งเสริมพัฒนาการและการปรับพฤติกรรมเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
Mind Map

Down's Syndrome แนวทางการดูแลรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ
     1.ด้านสุขภาพอนามัย
  • แนะนำบิดามารดาให้พาบุตรไปพบแพทย์ตั้งแต่เริ่มแรก
  • ติดตามการรักษาเป็นระยะๆ เพื่อแพทย์จะได้ให้การรักษาและให้คำแนะนำต่างๆ
  • การให้คำแนะนำปรึกษาทางพันธุศาสตร์ การวางแผนครอบครัว ความเสี่ยงในการเกิดซ้ำของโรคในครอบครัวและการวินิจฉัยก่อนคลอด
     2.การส่งเสริมพัฒนาการ
  • เด็กกลุ่มอาการดาวน์สามารถพัฒนาได้ถ้าได้รับการฝึกสอนที่เหมาะสม
  • แนะนำบิดามารดาเรื่องความสำคัญของการส่งเสริมพัฒนาการ วิธีการ ฝึกฝนบุตรที่บ้านอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอเพื่อให้มีพัฒนาการใกล้เคียงกับเด็กทั่วไป
     3.การดำรงชีวิตประจำวัน
  • ฝึกให้ช่วยเหลือตนเองได้มากที่สุด เพื่อให้สามารถไปเรียนและใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้
  • รู้จักควบคุมตนเอง มีสัมพันธภาพกับผู้อื่น
  • ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของสังคมและสามารถใช้บริการต่างๆในสังคมได้
     4.การฟื้นฟูสมรรถภาพ
  • การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ เช่น การฝึกพูด กายภาพบำบัด กิจกรรมบำบัด
  • การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษาโดยจัดทำแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Program : IEP)
  • การฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม เช่น การฝึกทักษะการดำรงชีวิตประจำวัน (Activity of Daily Living Skills) การจดทะเบียนรับรองความพิการ
  • การฟื้นฟูสมรรถภาพทางอาชีพโดยการฝึกอาชีพ
Autistic แนวทางการดูแลรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ
     1.ส่งเสริมความเข้มแข็งครอบครัว
  • ครอบครัวมีบทบาทสำคัญที่สุดในกระบวนการดูแลช่วยเหลือ
  • ไม่ใช่หน้าที่ของใครคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นหน้าที่ของทุกคน
  • เรียนรู้และเข้าใจเกี่ยวกับออทิสติก
  • ทักษะต่างๆของเด็กจะสั่งสมตามประสบการณ์
  • ไม่ต้องกังวลว่าเด็กจะทำไม่ได้หรือทำได้ไม่ดี
  • ค่อยๆพัฒนาวิธีการตามคำชี้แนะจากผู้เชี่ยวชาญ
     2.ส่งเสริมความสามารถของเด็ก
  • ไม่มุ่งแก้ไขเฉพาะความบกพร่องเพียงด้านเดียว
  • มุ่งส่งเสริมความสามารถที่เด็กมีควบคู่ไปด้วย
  • เปิดโอกาสให้เด็กได้ทำบ่อยๆแล้วสอนเพิ่มในเรื่องที่ใกล้เคียงกับสิ่งที่เด็กทำได้
  • เสริมสร้างโอกาสให้เด็กได้เล่นของเล่นที่หลากหลาย
  • ได้ทำกิจกรรมที่หลากหลาย
     3.พฤติกรรมบำบัด
  • ส่งเสริมพฤติกรรมที่เหมาะสมให้คงอยู่ต่อเนื่อง
  • หยุดพฤติกรรมที่เป็นปัญหา
  • สร้างพฤติกรรมใหม่ที่ต้องการ
  • ช่วยเสริมสร้างทักษะด้านภาษา ด้านสังคม และทักษะอื่นๆ
  • ใช้พื้นฐานของทฤษฎีการเรียนรู้
  • การให้แรงเสริม
     4.การส่งเสริมพัฒนาการ
  • ยึดหลักและลำดับขั้นพัฒนาการของเด็กปกติ
  • ควรทำตั้งแต่อายุน้อย โดยต้องทำอย่างเข้มข้น สม่ำเสมอ และต่อเนื่องในระยะเวลาที่นานพอ
  • เหมาะสมตามสภาพปัญหา ความสามารถ และความเร็วในการเรียนรู้ของแต่ละคนที่มีความแตกต่างกัน
  • เน้นในเรื่องการมองหน้าสบตา การมีสมาธิ การฟัง และทำตามคำสั่ง
     5.การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์
  • การแก้ไขการพูด (Speech Therapy)
  • การสื่อความหมายทดแทน (Augmentative and Alternative Communication : AAC) เพื่อใช้ทดแทนการพูดเป็นการชั่วคราว
  • กิจกรรมบำบัด (Occupational Therapy)
     6.การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษา
  • เพิ่มทักษะพื้นฐานด้านสังคม การสื่อสาร และทักษะทางความคิด
  • เกิดผลดีในระยะยาว
  • เน้นการเตรียมความพร้อมเพื่อให้เด็กสามารถใช้ในชีวิตประจำวันจริงๆแทนการฝึกแต่เพียงทักษะทางวิชาการ
  • แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Program : IEP)
  • โรงเรียนการศึกษาพิเศษเฉพาะทาง โรงเรียนเรียนร่วม ห้องเรียนคู่ขนาน
     7.การฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม
  • การฝึกฝนทักษะในชีวิตประจำวัน (Activity of Daily Living Training)
  • การฝึกฝนทักษะทางสังคม (Social Skill Training)
  • การสอนเรื่องราวทางสังคม (Social Story)
     8.การรักษาด้วยยา
  • เพื่อบรรเทาอาการยางอย่างที่เกิดร่วมด้วย
  • เด็กไม่จำเป็นต้องรักษาด้วยยาทุกคน
  • ในปัจจุบันยังไม่พบว่ามียาตัวใดที่ช่วยแก้ไขความบกพร่องด้านการสื่อสารและด้านสังคม
  • เพื่อลดพฤติกรรมไม่มีสมาธิ อยู่ไม่นิ่ง หุนหันพลันแล่น
     9.การบำบัดทางเลือก
  • การสื่อความหมายทดแทน (AAC)
  • ศิลปกรรมบำบัด (Art Therapy)
  • ดนตรีบำบัด (Music Therapy)
  • การฝังเข็ม (Acupuncture)
  • การบำบัดด้วยสัตว์ (Animal Therapy)
     10.พ่อแม่
  • ลูกต้องพัฒนาได้
  • เรารักลูกของเรา ไม่ว่าเขาจะเป็นอย่างไร
  • ถ้าเราไม่รัก แล้วใครจะรัก
  • หยุดไม่ได้
  • ดูแลจิตใจและร่างกายของตนเองให้เข็มแข็ง
  • ไม่กล่าวโทษตนเองหรือคู่สมรส
  • ควรหันหน้าปรึกษากันในครอบครัว
การนำไปประยุกต์ใช้
     นำไปเป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมให้กับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ควรจัดให้ถูกต้องเด็กได้รับพัฒนาการที่ดีเหมาะสมตามวัย หรือนำไปให้คำปรึกษา ให้ความรู้วิธีการเลี้ยงดูให้กับพ่อแม่เด็กที่มีความต้องการพิเศษ
การประเมินผล
  • การประเมินตนเอง - การแต่งกายสะอาดเรียบร้อยถูกระเบียบ เข้าห้องเรียนตรงต่อเวลา ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน บางครั้งอาจคุยบ้าง ชอบที่อาจารย์สอนในรายละเอียดที่ลึกลงไปอีก รู้สึกสนุกและมีความสุขเวลาที่อาจารย์แสดงบทบาทสมมติ เป็นกันเอง
  • การประเมินเพื่อน - แต่งกายสะอาดเรียบร้อย สนุกสนานกับการเรียน ทุกคนต่างสนใจในการเรียนการสอน และตั้งใจฟังอาจารย์ยกตัวอย่างประสบการณ์
  • การประเมินอาจารย์ - การแต่งกายสะอาดสุภาพ อาจารย์สอนเนื้อหาละเอียด มีประสบการณ์มาเล่าให้ฟังเยอะแยะทำให้เด็กนึกภาพตามได้ แสดงบทบาทสมมติทำให้เกิดเสียงหัวเราะ สนุกสนานในการเรียน ไม่เครียด
คลิกๆๆ เข้าไปเยี่ยมแฟนเพจกัน...

วันอังคารที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่12

บันทึกอนุทิน
วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี  4 พฤศจิกายน พ.ศ.2557
ครั้งที่ 12 กลุ่มเรียน 101 (วันอังคาร ตอนเที่ยง)
เวลาเข้าเรียน 12:20 – 15:00 น. ห้อง 234 อาคาร 2

     วันนี้อาจารย์เฉลยข้อสอบทั้งหมด 60 ข้อ ที่ได้สอบไปเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว และอาจารย์อธิบายเนื้อหาแต่ละข้อเพิ่มเติม เพื่อให้นักศึกษาทบทวนความรู้เดิมที่ได้เรียนมาไปด้วย

การนำไปประยุกต์ใช้
     สามารถแยกประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษได้ และจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับพัฒนาการตามวัยของเด็กแต่ละกลุ่ม หรือจัดสิ่งแวดล้อมและกิจกรรมให้เหมาะสมกับเด็กเป็นรายบุคคล เพื่อให้สมองจัดระเบียบข้อมูลที่รับผ่านความรู้สึก ปรับระดับ แยกแยะ ประมวลผลหรือบูรณาการข้อมูลอย่างถูกต้องสมบูรณ์ เช่น
ปัญหาการรับรู้ทางสายตา เด็กสมาธิสั้นควรฝึก
     - ปิดไฟ ใช้ไฟฉายส่องไปที่ฝา ให้เด็กใช้ไฟฉายอีกดวงฉายตามไปที่จุดทีคุณฉาย
     - เปิดไฟหลายสี ทำไฟสีจ้า เป็นไฟนิ่ง ไฟสลัว ไฟกระพริบ ทำที่ละสีหรือทำสลับกันไปมา เปิดไฟสีอ่อน สลับไปมา ทำเป็นไฟจ้า ไฟนิ่ง ไฟสลัวและไฟกระพริบ
     - ให้หาสิ่งของมีสีสันในหญ้า
     - ใช้ลูกแก้วหลายสี หลายลูก กลิ้งในราง ให้เด็กหยิบลูกแก้วตามสีที่คุณบอก
     - เป่าลูกโป่งหลายสีให้ลอยในอากาศ ให้เด็กมองตามลูกโป่งและให้เดาว่าลูกโป่งจะลอยไปทางใด
ปัญหาการได้ยิน เด็กสมาธิสั้นควรฝึก
     - ให้ฟังเสียงในทิศทางต่างๆกันและให้เด็กบอกว่าเสียงดังมาจากด้านใด
     - เล่นเกมทายเสียง ทั้งทำให้ดังและดังแผ่วๆ หรือ ผสมเสียงให้แยกให้ออกว่าเป็นเสียงอะไร
     - เปิดเพลงช้าแล้วให้เดิน เปิดเพลงกำลังดีแล้วให้เตะขาตามจังหวะและเปิดเพลงเร็ว เช่น จังหวะเร็กเก้ ให้เด็กเต้นตามจังหวะ พร้อมตบมือให้เป็นไปตามจังหวะ ลดเสียงและให้เต้นตามจังหวะ
ปัญหาการรับรู้ผ่านกล้ามเนื้อเอ็นข้อต่อ เด็กสมาธิสั้นควรฝึก
     - ให้หิ้ว ลาก ผลัก ดึง ของที่มีน้ำหนัก
     - โหนราว ไต่ราวกลางแจ้ง
     - กระโดดบนที่กระโดดสปริงก์หรือแทมโบลีน คลานบนพื้น ใช้มือตบบอลล์เข้ากำแพง
ปัญหาการเคลื่อนไหวและการทรงตัว เด็กสมาธิสั้นควรฝึก
     - การวิ่งแล้วหมุนตัวกลับไปมา
     - นำเก้าอี้มาวาง 2 ตัว ให้ห่างกันประมาณ 1 เมตร ให้เด็กเดินเป็นเลขแปดและวิ่งเป็นเลขแปด
     - กระโดดเชือก เดินเป็นวงกลม วงรี

การประเมินผล
  • การประเมินตนเอง - การแต่งกายสะอาดเรียบร้อยถูกระเบียบ เข้าห้องเรียนตรงต่อเวลา ในการสอบครั้งนี้ดิฉันทำคะแนนออกมาเป็นที่น่าพอใจในระดับหนึ่ง คิดว่าพอใจในความสามารถเพราะข้อสอบก็ไม่ง่าย และตั้งใจฟังที่อาจารย์เฉลยข้อสอบ ได้รู้ว่าข้อไหนเราทำผิด เพราะอะไรถึงผิด และข้อที่ถูกต้อง พอรู้ว่าข้อไหนที่ตัวเองตอบผิดรู้สึกเสียดายมาก บางข้ออ่านโจทย์ผิดกับข้อสอบข้อแรกๆไม่ได้อ่านมา อ่านแต่เด็กที่มีความบกพร่อง รู้เลยว่าตัวเองคงทำผิดช่วงนั้นเยอะ แต่ก็ทบทวนไปด้วยตั้งใจอ่านใหม่และจะพยายามทำให้ดีขึ้นในการสอบครั้งต่อไปจะไม่ประมาท
  • การประเมินเพื่อน - สนุกสนานกับการเรียน ทุกคนต่างสนใจในการฟังคำตอบที่ถูกในแต่ละข้อว่าตัวเองทำผิดข้อไหน เพราะอะไรถึงไม่ใช่ เพื่อนๆเกือบทั้งห้องทำคะแนนได้ดีทุกคน บางคนก็ต้องพยายามถีบตัวเองให้ดีขึ้น คนที่ได้คะแนนสูงก็อย่าชะล่าใจ แต่ในภาพรวมถือว่าโอเค
  • การประเมินอาจารย์ - การแต่งกายสะอาดสุภาพ อาจารย์อธิบายความรู้เพิ่มเติมในแต่ละข้อทำให้เข้าใจมากขึ้น นักศึกษาได้ทบทวนความรู้เดิมไปด้วย และรู้ว่าส่วนมากที่ตอบผิดเพราะอะไร ข้อสอบบางข้อพอรู้ว่าคำตอบอาจารย์แต่งขึ้นมาเอง เซ็งเลย และได้เล่าประสบการณ์ของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ พร้อมแสดงบทบาทสมมติได้เหมือนจริงทำให้มองเห็นภาพ อาจารย์พูดเพราะ น่ารัก น่าใส ยิ้มแย้มตลอดเวลา ทำให้บรรยากาศในห้องเรียนน่าเรียน ไม่เครียด เป็นกันเองกับนักศึกษา มีความสุขที่เรียน
ความรู้เพิ่มเติม : คลิ๊ก , คลิ๊ก


                    คลิกๆๆ เข้าไปเยี่ยมแฟนเพจกัน...

วันอังคารที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุุทินครั้งที่11

บันทึกอนุทิน
วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี  28 ตุลาคม พ.ศ.2557
ครั้งที่ 11 กลุ่มเรียน 101 (วันอังคาร ตอนเที่ยง)
เวลาเข้าเรียน 12:20 – 15:00 น. ห้อง 234 อาคาร 2

     วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์สอบกลางภาค วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

วันอังคารที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่10

บันทึกอนุทิน
วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี  21 ตุลาคม พ.ศ.2557
ครั้งที่ 10 กลุ่มเรียน 101 (วันอังคาร ตอนเที่ยง)
เวลาเข้าเรียน 12:20 – 15:00 น. ห้อง 234 อาคาร 2

     วันนี้อาจารย์สอนต่อในหัวข้อ ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ซึ่งสัปดาห์ที่แล้วสอนถึงเรื่อง เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้เด็กออทิสติก วันนี้สอนต่อในเรื่อง เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ และเด็กพิการซ้อน

สรุปเป็น Mind Map
ข้อมูลเพิ่มเติม : คลิ๊ก , คลิ๊ก

การนำไปประยุกต์ใช้
     รู้สาเหตุของเด็กแต่ละกลุ่มเป็นอย่างไร วิธีการสอนควรเป็นแบบไหน สามารถนำไปเป็นแนวความรู้ในการเรียนการสอนของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ เวลาจัดกิจกรรมหรือช่วงการเรียนควรปรับใช้การสอนให้ตรงกับพัฒนาการตามวัยของเด็กแต่ละกลุ่ม เพื่อที่เขาจะได้พัฒนาการดียิ่งขึ้นอย่างเหมาะสมตามวัย การดูแลเอาใจใส่เขาให้มากขึ้นให้ความรัก

การประเมินผล
  • การประเมินตนเอง - การแต่งกายสะอาดเรียบร้อยถูกระเบียบ เข้าห้องเรียนตรงต่อเวลา
  • การประเมินเพื่อน - สนุกสนานในการเรียนการสอน
  • การประเมินอาจารย์ - การแต่งกายสะอาดสุภาพ เล่าประสบการณ์ของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ พร้อมแสดงบทบาทสมมติได้เหมือนจริงทำให้มองเห็นภาพ และมีวีดีโอมาให้ดูเหมาะสมเข้าใจการดูแลเด็กสมาธิสั้น
คลิกๆๆ เข้าไปเยี่ยมแฟนเพจกัน...