วันอังคารที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่7

บันทึกอนุทิน
วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี  30 กันยายน พ.ศ.2557
ครั้งที่ 7 กลุ่มเรียน 101 (วันอังคาร ตอนเที่ยง)
เวลาเข้าเรียน 12:20 – 15:00 น. ห้อง 234 อาคาร 2

     วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ให้นึกศึกษาเข้าร่วมโครงการ "จิตอาสาตามรอยแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง" โดย คุณทฤษฎี สหวงษ์ เป็นวิทยากร สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม วันอังคารที่ 30 กันยายน 2557 ณ ห้องประชุมจันทร์จรัส สำนักงานอธิการบดี



ทฤษฎี สหวงษ์

World Animal Protection Thailand

รายการทูไนท์โชว์

การประเมินผล
  • การประเมินตนเอง - การแต่งกายสะอาดเรียบร้อย ฟังบรรยายด้วยความสนุกสนาน
  • การประเมินเพื่อน - สนุกสนานในการฟังบรรยาย
  • การประเมินวิทยากร - การแต่งกายสะอาดสุภาพ พูดคุยเป็นกันเอง ให้ความรู้ที่ฟังเข้าใจง่ายสนุกสนาน ไม่น่าเบื่อ
คลิกๆๆ เข้าไปเยี่ยมแฟนเพจกัน...

วันอังคารที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่6

บันทึกอนุทิน
วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี  23 กันยายน พ.ศ.2557
ครั้งที่ 6 กลุ่มเรียน 101 (วันอังคาร ตอนเที่ยง)
เวลาเข้าเรียน 12:20 – 15:00 น. ห้อง 234 อาคาร 2

     วันนี้อาจารย์สอนต่อในเรื่อง ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ซึ่งสัปดาห์ที่แล้วสอนถึงเรื่อง เด็กที่บกพร่องทางการเห็น
สรุป Mind Map
ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ(ต่อ)

ความรู้เพิ่มเติม
     2.1.4.เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ(Children with Physical and Health Impairments)
  • เด็กที่มีอวัยวะไม่สมส่วน
  • อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งหายไป
  • เจ็บป่วยเรืื้อรังรุนแรง
  • มีปัญหาทาวระบบประสาท
  • มีความลำบากในการเคลื่อนไหว
โรคลมชัก(Epilepsy)
  • เป็นลักษณะอาการที่เกิดเนื่องมาจากความผิดปกติของระบบประสมอง
  • มีกระแสไฟฟ้าที่ผิดปกติและมากเกินปล่อยออกมาจากเซลล์สมองพร้อมกัน
1.การชักในช่วงเวลาสั้นๆ(Petit Mal)
  • อาการเหม่อนิ่งเป็นเวลา 5-10 วินาที
  • มีการกระพริบตาหรืออาจมีเคี้ยวปาก
  • เมื่อเกิดอาการชักเด็กจะหยุดชะงักในท่าก่อนชัก
  • เด็กจะนั่งเฉย หรือเด็กอาจจะตัวสั่นเล็กน้อย
2.การชักแบบรุนแรง(Grand Mal)
  • เมื่อเกิดอาการชัก เด็กจะส่งเสียง หมดความรู้สึก ล้มลง กล้ามเนื้อเกร็ง เกิดขึ้นราว 2-5 นาที จากนั้นจะหายและนอนหลับไปชั่วครู่
3.อาการชักแบบ(Partial Complex)
  • มีอาการประมาณไม่เกิน 3 นาที
  • เหม่อนิ่ง
  • เหมือนรู้สึกตัวแต่ไม่รับรู้และไม่ตอบสนองต่อคำพูด
  • หลังชักอาจจำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ได้ และต้องการนอนพัก
4.อาการไม่รู้สึกตัว(Focal Partial)
  • เป็นอาการที่เกิดขึ้นในระยะสั้น เด็กไม่รู้สึกตัว อาจทำอะไรบางอย่างโดยที่ตัวเองไม่รู้ เช่น ร้องเพลง ดึงเสื้อผ้า เดินเหม่อลอย แต่ไม่มีอาการชัก
5.ลมบ้าหมู(Grand Mal)
  • เมื่อเกิดอาการชักจะทำให้หมดสติ และหมดความรู้สึกในขณะชักกล้ามเนื้อเกร็งหรือแขนขากระตุก กัดฟัน กัดลิ้น
การปฐมพยาบาลขั้นพื้นฐานในกรณีเด็กมีอาการชัก
ซี.พี. (Cerebral Palsy) คลิ๊ก
  • การเป็นอัมพาตเนื่องจากระบบประสาทสมองพิการ หรือเป็นผลมาจากสมองที่กำลังพัฒนาถูกทำลายก่อนคลอด ระหว่างคลอดหรือหลังคลอด
  • การเคลื่อนไหว การพูด พัฒนาการล่าช้า เด็กซีพี มีความบกพร่องที่เกิดจากส่วนต่างๆของสมองแตกต่างกัน
1.กลุ่มแข็งแกร่ง(Spastic)
  • Spastic Hemiplegia อัมพาตครึ่งซีก
  • Spastic Diplegia อัมพาตครึ่งท่อนบน
  • Spastic Paraplegia อัมพาตครึ่งท่อนล่าง
  • Spastic Quadriplegia อัมพาตทั้งตัว
2.กลุ่มที่มีการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นเอง(Athetoid, Ataxia)
  • Athetoid อาการขยุกขยิกช้าๆ หรือเคลื่อนไหวเร็วๆที่เท้า แขน มือ หรือที่ใบหน้าของเด็กบางรายอาจมีคอเอียงปากเบี้ยวร่วมด้วย
  • Ataxia มีความผิดปกติในการทรงตัวของร่างกาย กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน
3.กลุ่มอาการแบบผสม(Mixed)
- กล้ามเนื้ออ่อนแรง(Muscular Distrophy)
  • เกิดจากเส้นประสาทสมองที่ควบคุมกล้ามเนื้อส่วนนั้นๆเสื่อมสลายตัว
  • เดินไม่ได้ นั่งไม่ได้ นอนอยู่กับที่
  • จะมีความพิการซ้อนในระยะหลัง คือ ความจำแย่ลง สติปัญญาเสื่อม
- โรคทางระบบกระดูกกล้ามเนื้อ(Orthopedic)
     ระบบกระดูกกล้ามเนื้อพิการแต่กำเนิด เช่น เท้าปุก (Clup Foot) กระดูกข้อสะโพกเคลื่อน อัมพาตครึ่งท่อนเนื่องจากกระดูกไขสันหลังส่วนล่างไม่ติด (Spina Bifida)
  • ระบบกระดูกกล้ามเนื้อพิการด้วยโรคติดเชื้อ (Infection) เช่น วัณโรค กระดูกหลังโกง กระดูกผุ เป็นแผลเรื้อรังมีหนองเศษกระดูกผุ
  • กระดูกหัก ข้อเคลื่อน ข้ออักเสบ
- โปลิโอ(Poliomyelitis)
  • มีอาการกล้ามเนื้อลีบเล็ก แต่ไม่มีผลกระทบต่อสติปัญญา
  • ยืนไม่ได้ หรืออาจปรับสภาพให้ยืนเดินได้ด้วยอุปกรณ์เสริม
- โรคระบบทางเดินหายใจ
- โรคเบาหวาน(Diabetes Mellitus)
- โรคหัวใจ(Cardiac Conditions)
- โรคมะเร็ง(Cancer)
- เลือดไหลไม่หยุด(Hemophilia)
- แขนขาด้วนแต่กำเนิด
ลักษณะของเด็กบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ
  • มีปัญหาเกี่ยวกับการทรงตัว
  • ท่าเดินคล้ายกรรไกร
  • เดินขากะเผลก หรืออึดอาดเชื่องช้า
  • ไอเสียงแห้งบ่อยๆ
  • มักบ่นเจ็บหน้าอก บ่นปวดหลัง
  • หน้าแดงง่าย มีสีเขียวจางบนแก้ม ริมฝีปากหรือปลายนิ้ว
  • หกล้มบ่อยๆ
  • หิวและกระหายน้ำอย่างเกินกว่าเหตุ
     2.1.5.เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา(Children with Speech and Language Disorders)
เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูด
     หมายถึง เด็กที่มีความบกพร่องซึ่งเกิดจากการพูดผิดปกติในด้านความชัดเจนในการปรับปรุงแต่งระดับคุณภาพของเสียง จังหวะและขั้นตอนของเสียงพูด
1.ความบกพร่องในด้านปรุงเสียง(Articulator Disorders)
  • เสียงบางส่วนของคำขาดหายไป "ความ" เป็น "คาม"
  • ออกเสียงของตัวอื่นแทนตัวที่ถูกต้อง "กิน" เป็น จิน "กวาด" เป็น ฟาด
  • เพิ่มเสียงที่ไม่ใช่เสียงที่ถูกต้องลงไปด้วย "หกล้ม" เป็น "หก-กะ-ล้ม"
  • เสียงเพี้ยนหรือแปล่ง "แล้ว" เป็น "แล่ว"
2.ความบกพร่องของจังหวะและขั้นตอนของเสียงพูด(Speech Flow Disorders)
  • พูดไม่ถูกตามลำดับขั้นตอน ไม่เป็นไปตามโครงสร้างของภาษา
  • การเว้นวรรคตอนไม่ถูกต้อง
  • อัตราการพูดเร็วหรือช้าเกินไป
  • จังหวะของเสียงพูดผิดปกติ
  • เสียงพูดขาดความต่อเนื่อง สละสลวย
3.ความบกพร่องของเสียงพูด(Voice Disorders)
  • ความบกพร่องของระดับเสียง
  • เสียงดังหรือค่อยเกินไป
  • คุณภาพของเสียงไม่ดี
ความบกพร่องทางภาษา
     หมายถึง การขาดความสามารถที่จะเข้าใจความหมายของคำพูด และ/หรือไม่สามารถแสดงความคิดออกมาเป็นถ้อนคำได้
1.การพัฒนาการทางภาษาช้ากว่าวัย(Delayed Language)
  • มีความลำบากในการใช้ภาษา
  • มีความผิดปกติของไวยากรณ์และโครงสร้างของประโยค
  • ไม่สามารถสร้างประโยคได้
  • มีความบกพร่องทางเชาว์ปัญญา อารมณ์ สมองผิดปกติ
  • ภาษาที่ใช้เป็นภาษาห้วนๆ
2.ความผิดปกติทางการพูดและภาษาอันเนื่องมาจากพยาธิสภาพที่สมอง โดยทั่วไปเรียกว่า Dysphasia หรือ Aphasia
  • อ่านไม่ออก (Alexia)
  • เขียนไม่ได้ (Agraphia)
  • สะกดคำไม่ได้
  • ใช้ภาษาสับสนยุ่งเหยิง
  • จำคำหรือประโยคไม่ได้
  • ไม่เข้าใจคำสั่ง
  • พูดตามหรือบอกชื่อสิ่งของไม่ได้
Gerstmann's Syndrome
  • ไม่รู้ชื่อนิ้ว
  • ไม่รู้ซ้ายขวา
  • คำนวณไม่ได้
  • เขียนไม่ได้
  • อ่านไม่ออก
ลักษณะของเด็กบกพร่องทางการพูดและภาษา
  • ในวัยทารกมักเงียบผิดธรรมชาติ ร้องไห้เบาๆและอ่อนแรง
  • ไม่อ้อแอ้ภายในอายุ 10 เดือน
  • ไม่พูดภายในอายุ 2 ขวบ
  • หลัง 3 ขวบแล้วภาษาพูดของเด็กก็ยังฟังเข้าใจยาก
  • ออกเสียงตัวสะกดไม่ได้
  • หลัง 5 ขวบเด็กยังคงใช้ภาษาที่เป็นประโยคไม่สมบูรณ์ในระดับประถมศึกษา
  • มีปัญหาในการสื่อความหมาย พูดตะกุกตะกัก
  • ใช้ท่าทางในการสื่อความหมาย
การนำไปประยุกต์ใช้
     อนาคตออกฝึกสอนเมื่อเจอเด็กที่มีความต้องการพิเศษเราสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ในการสอน มีวิธีในการรับมือ

การประเมินผล
  • การประเมินตนเอง - การแต่งกายสะอาดเรียบร้อยถูกระเบียบ เข้าห้องเรียนตรงต่อเวลา
  • การประเมินเพื่อน - สนุกสนานในการเรียนการสอน
  • การประเมินอาจารย์ - การแต่งกายสะอาดสุภาพ เข้าสอนตรงต่อเวลา แสดงบทบาทสมมติได้เหมือนมองเห็นภาพ
คลิกๆๆ เข้าไปเยี่ยมแฟนเพจกัน...

วันอังคารที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่5

บันทึกอนุทิน
วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี  16 กันยายน พ.ศ.2557
ครั้งที่ 5 กลุ่มเรียน 101 (วันอังคาร ตอนเที่ยง)
เวลาเข้าเรียน 12:20 – 15:00 น. ห้อง 234 อาคาร 2

     อาจารย์อธิบายความรู้เพิ่มเติมต่อจากการนำเสนอสัปดาห์ที่ผ่านมาเกี่ยวกับประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ แบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ กลุ่มเด็กปัญญาเลิศ และกลุ่มเด็กที่มีลักษณะทางความบกพร่อง
สรุป Mind Map
ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

ความรู้เพิ่มเติม
1.กลุ่มเด็กที่มีลักษณะทางความสามารถสูง มีความเป็นเลิศทางสติปัญญาเรียกโดยทั่วๆไปว่า "เด็กปัญญาเลิศ"
เด็กปัญญาเลิศ(Gifted Child) คลิ๊ก
  • เด็กที่มีความสามารถทางสติปัญญา
  • มีความถนัดเฉพาะทางสูงกว่าเด็กในวัยเดียวกัน
ลักษณะของเด็กปัญญาเลิศ
  • พัฒนาการทางร่างกายและจิตใจสูงกว่าเด็กในวัยเดียวกัน
  • เรียนรู้สิ่งต่างๆได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย
  • อยากรู้อยากเห็นอย่างจริงจัง ชอบซักถาม
  • มีเหตุผลในการแก้ปัญหา การใช้สามัญสำนึก
  • จดจำได้รวดเร็วและแม่นยำ
  • มีความรู้ ใช้คำศัพท์เกินวัย
  • มีความคิดริเริ่ม มีวิธีการคิดและแนวคิดแปลกๆ
  • เป็นคนตื่นตัว เฉียบแหลม ว่องไว และช่างสังเกต
  • มีแรงจูงใจ และมีความมานะบากบั่น มีความจริงจังในการทำงาน
  • ชอบแสวงหาสิ่งท้าทายความคิดความอ่าน
เด็กฉลาด                                                   Gifted
- ตอบคำถาม                                                           - ตั้งคำถาม
- สนใจเรื่องที่ครูสอน                                                - เรียนรู้สิ่งที่สนใจ
- ชอบอยู่กับเด็กอายุเท่ากัน                                       - ชอบอยู่กับผู้ใหญ่หรือเด็กที่โตกว่า
- ความจำดี                                                              - อยากรู้อยากเห็น ชอบคาดคะเน
- เรียนรู้ง่ายและเร็ว                                                   - เบื่อง่าย
- เป็นผู้ฟังที่ดี                                                           - ชอบเล่า
- พอใจในผลงานของตน                                           - ติเตียนผลงานของตน
2.กลุ่มเด็กที่มีลักษณะทางความบกพร่อง
     2.1.เด็กที่บกพร่องทางสติปัญญา
     2.2.เด็กที่บกพร่องทางการได้ยิน
     2.3.เด็กที่บกพร่องทางเห็น
     2.4.เด็กที่บกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ
     2.5.เด็กที่บกพร่องทางการพูดและภาษา
     2.6.เด็กที่บกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
     2.7.เด็กที่บกพร่องทางการเรียนรู้
     2.8.เด็กออทิสติก
     2.9.เด็กพิการซ้อน

     2.1.1เด็กที่บกพร่องทางสติปัญญา(Children with Intellectual Disabilities)
     หมายถึง เด็กที่มีระดับสติปัญญาหรือเชาว์ปัญญาต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ยเมื่อเทียบเด็กในระดับอายุเดียวกัน
     มี 2 กลุ่ม คือ เด็กเรียนช้า และเด็กปัญญาอ่อน
เด็กเรียนช้า
  • สามารถเรียนในชั้นเรียนปกติได้
  • เด็กที่มีความสามารถในการเรียนล่าช้ากว่าเด็กปกติ
  • ขาดทักษะในการเรียนรู้
  • มีความบกพร่องทางสติปัญญาเพียงเล็กน้อย
  • มีระดับสติปัญญา (IQ) ประมาณ 71-90
สาเหตุของการเรียนช้า
    1.ภายนอก
  • เศรษฐกิจของครอบครัว
  • การสร้างเสริมประสบการณ์ให้แก่เด็ก
  • สภาวะทางด้านอารมณ์ของคนในครอบครัว
  • การเข้าเรียนไม่สม่ำเสมอ
  • วิธีการสอนไม่มีประสิทธิภาพ
    2.ภายใน
  • พัฒนาการช้า
  • การเจ็บป่วย
เด็กปัญญาอ่อน
  • ระดับสติปัญญาต่ำ
  • พัฒนาการล่าช้าไม่เหมาะสมกับวัย
  • มีพฤติกรรมการปรับตนบกพร่อง
  • อาการแสดงก่อนอายุ 18
พฤติกรรมการปรับตน
- การสื่อความหมาย                                     - การควบคุมตนเอง
- การดูแลตนเอง                                          - การนำความรู้มาใช้ในชีวิตประจำวัน
- การดำรงชีวิตภายในบ้าน                            - การใช้เวลาว่าง
- การปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นในสังคม                   - การทำงาน
- การใช้แหล่งทรัพยากรในชุมชน                  - การมีสุขอนามัยและความปลอดภัยเบื้องต้น
เด็กปัญญาอ่อนแบ่งตามระดับสติปัญญา (IQ) ได้ 4 กลุ่ม
     1.เด็กปัญญาอ่อนขนาดหนักมาก IQ ต่ำกว่า 20
  • ไม่สามารถเรียนรู้ทักษะด้านต่างๆได้เลย
  • ต้องการเฉพาะการดูแลรักษาพยาบาลเท่านั้น
     2.เด็กปัญญาอ่อนขนาดหนัก IQ 20-34
  • ไม่สามารถเรียนได้ ต้องการเฉพาะการฝึกหัดการช่วยเหลือตัวเองในกิจวัตรประจำวันเบื้องต้นง่ายๆ
  • กลุ่มนี้เรียกโดยทั่วไปว่า C.M.R. (Custodial Mental Retardation)
     3.เด็กปัญญาอ่อนขนาดปานกลาง IQ 35-49
  • พอที่จะฝึกอบรมและเรียนทักษะเบื้องต้นง่ายๆได้
  • สามารถฝึกอาชีพ หรือทำงานง่ายๆที่ไม่ต้องใช้ความละเอียดลออได้
  • เรียกโดยทั่วไปว่า T.M.R (Trainable Mentally Retarded)
     4.เด็กปัญญาอ่อนขนาดน้อย IQ 50-70
  • เรียนในระดับประถมศึกษาได้
  • สามารถฝึกอาชีพและงานง่ายๆได้
  • เรียกโดยทั่วๆไปว่า E.M.R (Educable Mentally Retarded)
ลักษณะของเด็กที่บกพร่องทางสติปัญญา
  • ไม่พูด หรือพูดได้ไม่สมวัย
  • ช่วงความสนใจสั้น วอกแวก
  • ความคิด และอารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย รอคอยไม่ได้
  • ทำงานช้า
  • รุนแรง ไม่มีเหตุผล
  • อวัยวะบางส่วนมีรูปร่างผิดปกติ กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน
  • ช่วยตนเองได้น้อยกว่าเด็กในวัยเดียวกัน
ดาวน์ซินโดรม(Down Syndrome)
สาเหตุ
  • ความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 21
  • ที่พบบ่อยคือโครโมโซมคู่ที่ 21 เกินมา 1 แท่ง (Trisomy 21)
อาการ
  • ศีรษะเล็กและแบน คอสั้น
  • หน้าแบน ดั้งจมูกแบน
  • ตาเฉียงขึ้น ปากเล็ก
  • ใบหูเล็กและอยู่ต่ำ รูหูส่วนนอกจะตีบกว่าปกติ
  • เพดานปากโค้งนูน ขากรรไกรบนไม่เจริญเติบโต
  • ช่องปากแคบ ลิ้นยื่น ฟันขึ้นช้าและไม่เป็นระเบียบ
  • มือแบนกว้าง นิ้วมือสั้น
  • เส้นลายมือตัดขวาง นิ้วก้อยโค้งงอ
  • ช่องระหว่างนิ้วเท้าที่ 1 และ 2 กว้าง
  • มีความผิดปกติในระบบต่างๆของร่างกาย
  • บกพร่องทางสติปัญญาระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง
  • อารมณ์ดีเลี้ยงง่าย ร่าเริง เป็นมิตร
  • มีปัญหาในการใช้ภาษาและการพูด
  • อวัยวะเพศมักเจริญเติบโตไม่เต็มที่ทั้งในชายและหญิง
การตรวจวินิจฉัยก่อนคลอดกลุ่มอาการดาวน์
  • การเจาะเลือดของมารดาในระหว่างที่ตั้งครรภ์
  • อัลตราซาวด์
  • การตัดชิ้นเนื้อรก
  • การเจาะน้ำคร่ำ
     2.1.2.เด็กที่บกพร่องทางการได้ยิน(Children with Hearing Impaired)
     หมายถึง เด็กที่มีความบกพร่อง หรือสูญเสียการได้ยินเป็นเหตุให้การรับฟังเสียงต่างๆได้ไม่ชัดเจน มี 2 ประเภท คือ เด็กหูตึง และเด็กหูหนวก
เด็กหูตึง หมายถึง เด็กที่สูญเสียการได้ยิน แต่สามารถรับข้อมูลได้โดยใช้เครื่องช่วยฟัง จำแนกกลุ่มย่อยได้ 4 กลุ่ม
     1.เด็กหูตึงระดับน้อย ได้ยินตั้งแต่ 26-40 dB
  • เด็กจะมีปัญหาในการรับฟังเสียงเบาๆเช่น เสียงกระซิบหรือเสียงจากที่ไกลๆ
     2.เด็กหูตึงระดับปานกลาง ได้ยินตั้งแต่ 41-55 dB
  • เด็กจะมีปัญหาในการรับฟังเสียงพูดคุยที่ดังในระดับปกติ ในระยะห่าง 3-5 ฟุต และไม่เห็นหน้าผู้พูด
  • จะไม่ได้ยิน ได้ยินไม่ชัด จับใจความไม่ได้
  • มีปัญหาในการพูดเล็กน้อย เช่น พูดไม่ชัด ออกเสียงเพี้ยน พูดเสียงเบา หรือเสียงผิดปกติ
     3.เด็กหูตึงระดับมาก ได้ยินตั้งแต่ 56-70 dB
  • เด็กจะมีปัญหาในการรับฟังและเข้าใจคำพูด
  • เมื่อพูดคุยกันด้วยเสียงดังเต็มที่ก็ยังไม่ได้ยิน
  • มีปัญหาในการรับฟังเสียงหลายเสียงพร้อมกัน
  • มีพัฒนาการทางภาษาและการพูดช้ากว่าปกติ
  • พูดไม่ชัด เสียงเพี้ยน บางคนไม่พูด
     4.เด็กหูตึงระดับรุนแรง ได้ยินตั้งแต่ 71-90 dB
  • เด็กจะมีปัญหาในนการรับฟังเสียงและการเข้าใจคำพูดอย่างมาก
  • ได้ยินเฉพาะเสียงที่ดังใกล้หูในระยะ 1 ฟุต
  • การพูดคุยด้วยต้องตะโกนหรือใช้เครื่องขยายเสียง
  • เด็กจะมีปัญหาในการแยกเสียง
  • เด็กมักพูดไม่ชัดและมีเสียงผิดปกติ บางคนไม่พูด
เด็กหูหนวก
  • เด็กที่สูญเสียการได้ยินมากถึงขนาดที่ทำให้หมดโอกาสที่จะเข้าใจภาษาพูดจากการได้ยิน
  • เครื่องช่วยฟังไม่สามารถช่วยได้
  • ไม่สามารถเข้าใจหรือใช้ภาษาพูดได้
  • ระดับการได้ยินตั้งแต่ 91 dB ขั้นไป
ลักษณะของเด็กที่บกพร่องทางการได้ยิน
  • ไม่ตอบสนองเสียงพูด เสียงดนตรี มักตะแคงหูฟัง
  • ไม่พูด มักแสดงท่าทาง
  • พูดไม่ถูกหลักไวยากรณ์
  • พูดด้วยเสียงแปลก มักเปล่งเสียงสูง
  • พูดด้วยเสียงต่ำหรือด้วยเสียงที่ดังเกินความจำเป็น
  • เวลาฟังมักจะมองปากของผู้พูด หรือจ้องหน้าผู้พูด
  • รู้สึกไวต่อการสั่นสะเทือน และการเคลื่อนไหวรอบตัว
  • มักทำหน้าที่เด๋อเมื่อมีการพูดด้วย
     2.1.3.เด็กที่บกพร่องทางการเห็น(Child with Visual Impairments)
  • เด็กที่มองไม่เห็นหรือพอเห็นแสงเห็นเลือนราง
  • มีความบกพร่องทางสายตาทั้งสองข้าง
  • สามารถเห็นได้ไม่ถึง 1/10 ของคนสายตาปกติ
  • มีลานสายตากว้างไม่เกิน 30 องศา
     จำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ เด็กตาบอด และเด็กตาบอดไม่สนิท
เด็กตาบอด
  • เด็กที่ไม่สามารถมองเห็นได้เลย หรือมองเห็นบ้าง
  • ต้องใช้ประสาทสัมผัสอื่นในการเรียนรู้
  • มีสายตาข้างดีมองเห็นได้ในระยะ 6/60 , 20/200 ลงมาจนถึงบอดสนิท
  • มีลานสายตาโดยเฉลี่ยอย่างสูงสุดแคบกว่า 5 องศา
เด็กตาบอดไม่สนิท
  • เด็กที่มีความบกพร่องทางสายตา
  • สามารถมองเห็นบ้างแต่ไม่เท่ากับเด็กปกติ
  • เมื่อทดสอบสายตาข้างดีจะอยู่ในระดับ 6/18 , 20/60 , 6/60 , 20/200 หรือน้อยกว่านั้น
  • มีลานสายตาโดยเฉลี่ยอย่างสูงสุดกว้างไม่เกิน 30 องศา
Snellen Chart & Near Card
ลักษณะของเด็กบกพร่องทางการเห็น
  • เดินงุ่มง่าม ชนและสะดุดวัตถุ
  • มองเห็นสีผิดไปจากปกติ
  • มักบ่นว่าปวดศีรษะ คลื่นไส้ ตาลาย คันตา
  • ก้มศีรษะชิดกับงาน หรือของเล่นที่วางอยู่ตรงหน้า
  • เพ่งตา หรี่ตา หรือปิดตาข้างหนึ่งเมื่อใช้สายตา
  • ตาและมือไม่สัมพันธ์กัน
  • มีความลำบากในการจำ และแยกแยะสิ่งที่เป็นรูปร่างทางเรขาคณิต
การนำไปประยุกต์ใช้
     อนาคตออกฝึกสอนเมื่อเจอเด็กที่มีความต้องการพิเศษเราสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ในการสอน มีวิธีในการรับมือ

การประเมินผล
  • การประเมินตนเอง - การแต่งกายสะอาดเรียบร้อยถูกระเบียบ เข้าห้องเรียนตรงต่อเวลา
  • การประเมินเพื่อน - สนุกสนานในการเรียนการสอน
  • การประเมินอาจารย์ - การแต่งกายสะอาดสุภาพ เข้าสอนตรงต่อเวลา และอธิบายการสอนอย่างละเอียด สนุกสนาน
คลิกๆๆ เข้าไปเยี่ยมแฟนเพจกัน...

วันอังคารที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่4

บันทึกอนุทิน
วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี  9 กันยายน พ.ศ.2557
ครั้งที่ 4 กลุ่มเรียน 101 (วันอังคาร ตอนเที่ยง)
เวลาเข้าเรียน 12:20 – 15:00 น. ห้อง 234 อาคาร 2

     วันนี้นำเสนอโรคที่เกี่ยวกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ซึ่งกลุ่มดิฉันได้หัวข้อเรื่อง เด็กดาวน์ซินโดรม (Down’s syndrome หรือ Down syndrome)
สรุป Mind Map
เด็กที่มีความต้องการพิเศษ

แบบประเมินการนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน
            
รายการประเมิน
1.ความรู้ที่ได้รับจากการนำเสนอ
2.รูปแบบการนำเสนอมีความน่าสนใจ
3.ความคิดสร้างสรรค์
ระดับคะแนน
- 3 คะแนน
- 2 คะแนน
- 1 คะแนน

ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
เด็กดาวน์ซินโดรม

     โรคดาวน์ซินโดรม (Down’s syndrome หรือ Down syndrome) หรือที่มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า กลุ่มอาการดาวน์ คือการเกิดความผิดปกติของสารพันธุกรรมที่เป็นมาตั้งแต่กำเนิด และเป็นโรคไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้เนื่องจากสาเหตุของโรคนั้นเกิดขึ้นจากความผิดปกติภายในโครโมโซม โดยชื่อของโรคนั้นตั้งตามชื่อของของแพทย์ชาวอังกฤษชื่อ John Lang don Down ซึ่งเป็นแพทย์คนแรกที่ได้อธิบายอาการของโรคไว้เมื่อปี ค.ศ. 1866 แต่ในปี ค.ศ. 1959 นายแพทย์ Jerome Lejeune นั้นเป็นคนค้นพบว่าสาเหตุของโรคเกิดจากสารพันธุกรรม และปัจจุบันนั้นก็ยังไม่มีวิธีป้องกันการเกิดโรคดาวน์ซินโดรมได้
ข้อมูลเพิ่มเติม : คลิ๊ก


เด็กซีพี (CP : Cerebral Palsy)
     CP ย่อมาจาก Cerebral Palsy หมายถึง เด็กสมองพิการซึ่งเด็กจะมีการเคลื่อนไหวร่างกายที่ผิดปกติ การขยับแขนขา ลำตัวใบหน้า ลิ้น รวมถึงการทรงตัวที่ผิดปกติ เด็กที่เป็นโรคนี้มักมี ปัญหาในการควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อปัญหาการพูดคุยและการกินและอาจจะมีปัญหาในการควบคุมลมหายใจเพื่อเปล่งเสียง (เรียกกันว่า Dysarthria) ในทางการแพทย์ จัดเด็กพิการ CP เป็นภาวะพิการทางสมองชนิดหนึ่ง เด็กพิการซีพี ส่วนใหญ่สติปัญญาดี ไม่ปัญญาอ่อน ประมาณ 70-80% มีค่า IQ มากกว่า 70 บางรายมีการรับรู้ ความรู้สึกที่ผิดปกติด้วย
     เด็กพิการทางสมองซีพีคือเด็กที่ มีความเสียหายของเนื้อสมองเกิดขึ้นในช่วงอายุที่สมองยังเจริญไม่เต็มที่และจะไม่สามารถคืนสู่สภาพปกติเพราะเซลล์สมองไม่สามารถแบ่งตัว เพิ่มจำนวนแทนที่ส่วนที่เสียหายได้
ข้อมูลเพิ่มเติม : คลิ๊ก , คลิ๊ก

เด็กแอลดี(LD : Learning Disability)
สาเหตุของโรคแอลดี
     เด็กแอลดี (LD : Learning Disability) หรือ เด็กที่อยู่ในภาวะความบกพร่องในการเรียนรู้ เด็กๆ เหล่านี้จะมีสติปัญญาอยู่ในเกณฑ์ปกติหรือฉลาดกว่า แต่การเรียนรู้ในด้านใดด้านหนึ่งหรือหลายๆ ด้านจะช้ากว่าเด็กวัยเดียวกัน
     โรคแอลดีเกิดจากความผิดปกติของสารเคมีในสมอง ยังไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นสมองส่วนใดหรือมีความผิดปกติอย่างไร พบว่ามักจะอยู่ในกลุ่มที่แม่มีปัญหาในระหว่างตั้งครรภ์ มีปัญหาระหว่างคลอดหรือหลังคลอด หรือสมองของเด็กมีการทำงานผิดปกติ โดยอาจเกิดจากการติดเชื้อ อุบัติเหตุ ได้รับสารพิษ เป็นต้น

     เด็กแอลดีไม่ได้เป็นปัญญาอ่อน มีสติปัญญาปกติหรือมากกว่าปกติ และไม่ได้พิการใดๆ ทั้งสิ้น สาเหตุจะต้องมาจากความผิดปกติของสมองเพียงอย่างเดียว ไม่ใช่การอยู่ในวัฒนธรรมหรือสิ่งแวดล้อมที่มีลักษณะด้อยโอกาสในการดูแล หรือ เด็กที่มีความบกพร่องด้านการเรียน อาจเกิดจากระบบการสอนที่ไม่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็กตามวัย อาจเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดความบกพร่องด้านการเรียนได้ เช่น การเร่งให้เด็กเขียนหนังสือในขณะที่พัฒนาการกล้ามเนื้อของเด็กยังไม่พร้อม เป็นต้น จึงไม่จัดอยู่ในกลุ่มของเด็กแอลดี

     โรคแอลดีเป็นโรคที่ติดตัวเด็กไปจนโต การรักษาในวัยเด็กระยะแรกจะสามารถช่วยได้ เพราะเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้อาจประสบความสำเร็จในด้านการเรียนและด้านอื่นๆ ได้ แต่กความบกพร่องทางการเรียนรู้เป็นเสมือนโรคที่ซ่อนเร้น บางครั้งพบว่าเด็กไม่แสดงอาการชัดแจ้ง แต่ควรสังเกตและตรวจสอบตั้งแต่เด็กยังเล็กอยู่ว่าเข้าข่ายเหล่านี้หรือไม่
  • พ่อแม่ คนในครอบครัว หรือญาติผู้ใหญ่ มีประวัติเป็นแอลดี
  • แม่มีอายุน้อยมาก
  • เด็กมีน้ำหนักแรกเกิดเท่าไร น้ำหนักตัวน้อยกว่าเกณฑ์มากไหม
  • เด็กมีภาวะความบาดเจ็บทางสมองจากการคลอดก่อนหรือหลังกำหนด
  • เด็กเคยเป็นโรคที่เกิดจากการอักเสบของอวัยวะ เช่น หู ซึ่งสามารถสร้างความกระทบกระเทือนไปถึงสมองบางส่วนหรือไม่
  • เด็กอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีมลพิษ เช่น มลพิษจากสารตะกั่ว เป็นต้น
ข้อมูลมเพิ่มเติม : คลิ๊ก
                      

เด็กสมาธิสั้น
     โรคสมาธิสั้นคือ กลุ่มอาการที่เกิดขึ้นตั้งแต่วัยเด็ก (ก่อนอายุ 7 ขวบ) ซึ่งจะมีผลกระทบต่อพฤติกรรม อารมณ์ การเรียน และการเข้าสังคมกับผู้อื่นของเด็ก กลุ่มอาการนี้ได้แก่ ขาดสมาธิ (attention deficit), การขาดความสามารถในการควบคุมตัวเอง (impulsivity), อาการซน (hyperactivity) เด็กบางคนอาจจะมีอาการซนและการขาดความสามารถในการควบคุมตัวเองเป็นอาการหลัก ซึ่งพบได้บ่อยในเด็กผู้ชาย หรือบางคนอาจจะมีอาการขาดสมาธิเป็นปัญหาหลัก พบได้บ่อยพอ ๆ กันในเด็กผู้หญิงและเด็กผู้ชาย โรคสมาธิสั้นนี้พบได้บ่อยในทุกประเทศทั่วโลก ในต่างประเทศพบว่าประมาณ 3-5 เปอร์เซ็นต์ของเด็กในวัยเรียน เป็นโรคสมาธิสั้น จะสังเกตได้อย่างไรว่าเด็กเป็นโรคสมาธิสั้นหรือไม่
     1. การขาดสมาธิ (attention deficit) โดยสังเกตพบว่าเด็กจะมีลักษณะดังนี้
- ไม่สามารถทำงานที่ครู หรือพ่อแม่สั่งจนสำเร็จ
- ไม่มีสมาธิในขณะทำงานหรือเล่น
- ดูเหมือนไม่ค่อยฟังเวลาพูดด้วย
- ไม่สามารถตั้งใจฟัง และเก็บรายละเอียดได้ ทำให้ทำงานผิดพลาดบ่อย
- ไม่ค่อยเป็นระเบียบ
- วอกแวกง่าย
- ขี้ลืมบ่อย ๆ
- มีปัญหาหรือพยายามหลีกเลี่ยงงานที่ต้องใช้ความคิดหรือสมาธิ
- ทำของใช้ส่วนตัวหรือของใช้ที่จำเป็นสำหรับงานหรือการเรียนหายอยู่บ่อย ๆ
     2. การซน (hyperactivity) และการขาดความสามารถในการควบคุมตนเอง (impulsivity) เด็กจะมีลักษณะดังนี้- ยุกยิก อยู่ไม่สุข
- นั่งไม่ติดที่ ลุกเดินบ่อย ๆ ขณะอยู่ที่บ้านหรือในห้องเรียน
- ชอบวิ่ง หรือปีนป่ายสิ่งต่าง ๆ
- พูดมาก พูดไม่หยุด
- เล่นเสียงดัง
- ตื่นตัวตลอดเวลา หรือดูตื่นเต้นง่าย
- ชอบโพล่งคำตอบเวลาครูหรือพ่อแม่ถาม โดยที่ยังฟังคำถามไม่จบ
- รอคอยไม่เป็น
- ชอบขัดจังหวะหรือสอดแทรกเวลาผู้อื่นกำลังพูดอยู่
     หากเด็กมีลักษณะในข้อ 1 หรือ 2 รวมกันมากกว่า 6 ข้อ อาการเด็กของท่านมีความเป็นไปได้สูงที่จะเป็นโรคสมาธิสั้น
ข้อมูลเพิ่มเติม : คลิ๊ก

เด็กปัญญาเลิศ
     เด็กปัญญาเลิศ หมายถึง เด็กที่มีความสามารถทางสติปัญญา และความถนัดเฉพาะทางอยู่ระดับสูงกว่าเด็กอื่นในวัยเดียวกัน คำที่ใช้ในความหมายที่มีอยู่หลายคำ เช่น เด็กปัญญาเลิศ เด็กอัจฉริยะ เด็กฉลาด เด็กมีพรสวรรค์ ฯลฯ เมื่อพูดถึงเด็กปัญญาเลิศ ก็มักนึกถึงเด็กที่เรียนเก่ง สอบได้คะแนนดีหรือถือเอาเรื่องของความถนัดเฉพาะทางซึ่งเรียกกันว่า พรสวรรค์ในด้านที่เห็นได้ชัด เช่น ทางศิลปะ และดนตรีเป็นหลัก ดังนั้นเด็กที่ไม่มีโอกาสแสดงความสามารถไม่ว่าทางใด เช่น เด็กยากจน หรือยู่ในสิ่งแวดล้อมจำกัดไม่ได้รับการส่งเสริมให้เป็นเด็กมีความสามารถ ก็ไม่มีโอกาสได้ชื่อว่าเป็นเด็กปัญญาเลิศ แต่เด็กปัญญาเลิศก็ยังคงเป็นเด็กที่มีความต้องการอื่นๆ เหมือนเด็กทั่วๆไป ปัญหาที่พบมักจะเป็นผลจากสิ่งแวดล้อมที่ไม่เข้าใจธรรมชาติของเด็กกลุ่มนี้ และไม่สามารถเอื้ออำนวยต่อความต้องการและความสามารถของเด็กได้อย่างเหมาะสม จึงพบปัญหาการปรับตัวได้ เช่น การแยกตัวจากกลุ่มเพื่อน เบื่อหน่ายการเรียนที่ไม่ได้เรียนสิ่งที่ตนเองสนใจ หรือคับข้องใจที่ได้รับการส่งเสริมแต่เพียงการใช้ความสามารถทางเชาวน์ปัญญา แต่ขาดการตอบสนองทางอารมณ์ตามวัย
ความเป็นเด็กปัญญาเลิศ (gifted) มีลักษณะเด่น 3 อย่าง
     1.เรียนรู้เร็ว (precocious)
     2.มีความสนใจและเรียนรู้ในรูปแบบของตนเอง ไม่ได้เรียนตามแนวทางปกติทั่วๆ ไป
     3.มีความสนใจดื่มด่ำในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นพิเศษ อาจมุ่งมั่นดื่มด่ำมากจนไม่สนใจเรื่องอื่น หรือไม่สนใจโลกภายนอก
ข้อมูลเพิ่มเติม : คลิ๊ก , คลิ๊ก , คลิ๊ก

เด็กออทิสติก (Autistic)

     หมายถึงเด็กที่ไม่สามารถมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น โรคนี้เป็นความผิดปกติในสมองซึ่งมีอาการแสดงและความผิดปกติได้หลายรูปแบบ เด็กจะไม่สามารถเข้าใจคำพูด ความรู้สึกและความต้องการของผู้อื่น การพัฒนาด้านภาษาและสติปัญญาก็ไม่สมบูรณ์ ทำให้เด็กไม่สามารถที่จะสื่อสารกับคนรอบข้างและสังคม เด็กทำบางสิ่งซ้ำๆ
    อาการของเด็กบางคนจะแสดงออกตั้งแต่เกิดแต่ส่วนใหญ่จะแสดงออกเมื่อเด็กอายุ 18-36 เดือนเด็กจะไม่สนใจคนอื่น มีพฤติกรรมแปลกๆ สูญเสียความสามารถทางภาษาและทักษะ ผู้ปกครอง คุณครูรวมทั้งผู้ร่วมงาน ก็มีปัญหากับเด็กที่ไม่สนใจอย่างอื่นนอกจากพฤติกรรมที่ทำซ้ำซาก
     Autism คืออะไร โรค Autism เป็นความผิดปกติในสมอง เด็กที่เป็นจะมีปัญหาเรื่อง การสื่อสาร ความสัมพันธ์ กับคนรอบข้างและสิ่งแวดล้อม เด็กบางคนสามารถสื่อสารกับผู้อื่นและก็มีความฉลาด แต่เด็กบางคนเป็นเด็กปัญญาอ่อน ไม่พูด เด็กบางคนก็มีพฤติกรมทำซ้ำซาก จะเห็นว่าเด็กแต่ละคนมีอาการไม่เหมือนกัน ความรุนแรงไม่เท่ากัน แต่จะมีปัญหาทางสังคม การสื่อสาร พฤติกรรม กล้ามเนื้อและความรู้สึก
ข้อมูลเพิ่มเติม : คลิ๊ก

เด็กที่มีความบกพร่องทางอารมณ์
     เด็กบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ (Children with Behavioral and Emotional Disorders) หมายถึง เด็กที่แสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสม (ต่อต้านตนเองหรือผู้อื่น) หรือมีความรู้สึกนึกคิดที่ผิดไปจากปกติ (แสดงออกถึงความต้องการทำร้ายตนเองหรือผู้อื่น มีความเชื่อมั่นในตนเองต่ำ) ออกมาอย่างเนื่องจนถึงระดับที่ส่งผลกระทบต่อการศึกษาของเด็กไม่ว่าจะเพียงลักษณะเดียว หรือหลายลักษณะร่วมกันก็ได้ เช่น มีความยากลำบากในการเรียน ซึ่งไม่สามารถอธิบายได้ด้วยเหตุผลทางด้านสติปัญญา ประสาทสัมผัส หรือสุขภาพ มีความยากลำบากในการสร้างหรือคงไว้ซึ่งความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเพื่อนและครู แสดงออกถึงภาวะความเครียดและไม่มีความสุขอย่างเป็นปกติ มีแนวโน้มของอาการทางสุขภาพร่างกาย หรือความกลัวอันเป็นผลของปัญหาที่เกิดกับตัวเด็กเองหรือปัญหาที่เกิดในโรงเรียน ซึ่งปัจจุบันมีผู้ปกครองจำนวนไม่น้อยที่ต้องเผชิญกับปัญหาความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ของลูกครั้งแล้วครั้งเล่า ซึ่งปัญหาเหล่านั้น ส่วนใหญ่สามารถได้รับการช่วยเหลือหรือแก้ไขได้ หากเด็กได้รับการรักษาที่ถูกต้อง อย่างไรก็ตาม ปัญหาของเด็กในบางกรณีอาจจะมีความรุนแรง ซึ่งเป็นสัญญาณของปัญหาสำคัญที่เด็กกำลังเผชิญอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากปัญหาความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ของเด็กเรื้อรังติดต่อกันเป็นเวลานานจนกระทั่งเด็กโตเป็นผู้ใหญ่แล้ว ผลเสียที่ตามมาอาจลุกลามไปถึงการสูญเสียของชีวิตก็เป็นได้
ข้อมูลเพิ่มเติม : คลิ๊ก

การนำไปประยุกต์ใช้
     ได้ความรู้เพิ่มเติมและลึกซึ่งยิ่งขึ้นว่าเด็กที่มีความต้องการพิเศษอาการแบบนี้คือเด็กกลุ่มประเภทใด เมื่ออนาคตถ้าเจอกลุ่มเด็กที่มีความต้องการพิเศษ เราสามารถนำความรู้ที่ได้ไปเป็นแนวทางในการรับมือ ดูแล การเข้าหา และแนวทางในจัดกิจกรรมที่ช่วยฝึกพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ ด้านสังคม ด้านสติปัญญา อย่างถูกต้องเหมาะสมต่อไป

การประเมินผล
  • การประเมินตนเอง - การแต่งกายสะอาดเรียบร้อยถูกระเบียบ เข้าห้องเรียนตรงต่อเวลา ตั้งใจฟังเพื่อนแต่ละกลุ่มนำเสนอ
  • การประเมินเพื่อน - การแต่งกายสะอาดเรียบร้อยถูกระเบียบ ไม่คุยกันเสียงดังระหว่างที่เพื่อนแต่ละกลุ่มนำเสนออยู่
  • การประเมินอาจารย์ - การแต่งกายสะอาดสุภาพ เข้าสอนตรงต่อเวลา และให้คำชี้แจงได้ละเอียด
คลิกๆๆ เข้าไปเยี่ยมแฟนเพจกัน...

วันอังคารที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่3

บันทึกอนุทิน
วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี  2 กันยายน พ.ศ.2557
ครั้งที่ 3 กลุ่มเรียน 101 (วันอังคาร ตอนเที่ยง)
เวลาเข้าเรียน 12:20 – 15:00 น. ห้อง 234 อาคาร 2


     วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน อาจารย์ให้นักศึกษาทุกคนเข้าร่วมโครงการ "ศึกษาศาสตร์วิชาการ" ณ อาคารพลศึกษา (โรงยิม) มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม วันอังคารที่ 2 กันยายน 2557


คลิกๆๆ เข้าไปเยี่ยมแฟนเพจกัน...