วันอังคารที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่4

บันทึกอนุทิน
วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี  9 กันยายน พ.ศ.2557
ครั้งที่ 4 กลุ่มเรียน 101 (วันอังคาร ตอนเที่ยง)
เวลาเข้าเรียน 12:20 – 15:00 น. ห้อง 234 อาคาร 2

     วันนี้นำเสนอโรคที่เกี่ยวกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ซึ่งกลุ่มดิฉันได้หัวข้อเรื่อง เด็กดาวน์ซินโดรม (Down’s syndrome หรือ Down syndrome)
สรุป Mind Map
เด็กที่มีความต้องการพิเศษ

แบบประเมินการนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน
            
รายการประเมิน
1.ความรู้ที่ได้รับจากการนำเสนอ
2.รูปแบบการนำเสนอมีความน่าสนใจ
3.ความคิดสร้างสรรค์
ระดับคะแนน
- 3 คะแนน
- 2 คะแนน
- 1 คะแนน

ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
เด็กดาวน์ซินโดรม

     โรคดาวน์ซินโดรม (Down’s syndrome หรือ Down syndrome) หรือที่มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า กลุ่มอาการดาวน์ คือการเกิดความผิดปกติของสารพันธุกรรมที่เป็นมาตั้งแต่กำเนิด และเป็นโรคไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้เนื่องจากสาเหตุของโรคนั้นเกิดขึ้นจากความผิดปกติภายในโครโมโซม โดยชื่อของโรคนั้นตั้งตามชื่อของของแพทย์ชาวอังกฤษชื่อ John Lang don Down ซึ่งเป็นแพทย์คนแรกที่ได้อธิบายอาการของโรคไว้เมื่อปี ค.ศ. 1866 แต่ในปี ค.ศ. 1959 นายแพทย์ Jerome Lejeune นั้นเป็นคนค้นพบว่าสาเหตุของโรคเกิดจากสารพันธุกรรม และปัจจุบันนั้นก็ยังไม่มีวิธีป้องกันการเกิดโรคดาวน์ซินโดรมได้
ข้อมูลเพิ่มเติม : คลิ๊ก


เด็กซีพี (CP : Cerebral Palsy)
     CP ย่อมาจาก Cerebral Palsy หมายถึง เด็กสมองพิการซึ่งเด็กจะมีการเคลื่อนไหวร่างกายที่ผิดปกติ การขยับแขนขา ลำตัวใบหน้า ลิ้น รวมถึงการทรงตัวที่ผิดปกติ เด็กที่เป็นโรคนี้มักมี ปัญหาในการควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อปัญหาการพูดคุยและการกินและอาจจะมีปัญหาในการควบคุมลมหายใจเพื่อเปล่งเสียง (เรียกกันว่า Dysarthria) ในทางการแพทย์ จัดเด็กพิการ CP เป็นภาวะพิการทางสมองชนิดหนึ่ง เด็กพิการซีพี ส่วนใหญ่สติปัญญาดี ไม่ปัญญาอ่อน ประมาณ 70-80% มีค่า IQ มากกว่า 70 บางรายมีการรับรู้ ความรู้สึกที่ผิดปกติด้วย
     เด็กพิการทางสมองซีพีคือเด็กที่ มีความเสียหายของเนื้อสมองเกิดขึ้นในช่วงอายุที่สมองยังเจริญไม่เต็มที่และจะไม่สามารถคืนสู่สภาพปกติเพราะเซลล์สมองไม่สามารถแบ่งตัว เพิ่มจำนวนแทนที่ส่วนที่เสียหายได้
ข้อมูลเพิ่มเติม : คลิ๊ก , คลิ๊ก

เด็กแอลดี(LD : Learning Disability)
สาเหตุของโรคแอลดี
     เด็กแอลดี (LD : Learning Disability) หรือ เด็กที่อยู่ในภาวะความบกพร่องในการเรียนรู้ เด็กๆ เหล่านี้จะมีสติปัญญาอยู่ในเกณฑ์ปกติหรือฉลาดกว่า แต่การเรียนรู้ในด้านใดด้านหนึ่งหรือหลายๆ ด้านจะช้ากว่าเด็กวัยเดียวกัน
     โรคแอลดีเกิดจากความผิดปกติของสารเคมีในสมอง ยังไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นสมองส่วนใดหรือมีความผิดปกติอย่างไร พบว่ามักจะอยู่ในกลุ่มที่แม่มีปัญหาในระหว่างตั้งครรภ์ มีปัญหาระหว่างคลอดหรือหลังคลอด หรือสมองของเด็กมีการทำงานผิดปกติ โดยอาจเกิดจากการติดเชื้อ อุบัติเหตุ ได้รับสารพิษ เป็นต้น

     เด็กแอลดีไม่ได้เป็นปัญญาอ่อน มีสติปัญญาปกติหรือมากกว่าปกติ และไม่ได้พิการใดๆ ทั้งสิ้น สาเหตุจะต้องมาจากความผิดปกติของสมองเพียงอย่างเดียว ไม่ใช่การอยู่ในวัฒนธรรมหรือสิ่งแวดล้อมที่มีลักษณะด้อยโอกาสในการดูแล หรือ เด็กที่มีความบกพร่องด้านการเรียน อาจเกิดจากระบบการสอนที่ไม่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็กตามวัย อาจเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดความบกพร่องด้านการเรียนได้ เช่น การเร่งให้เด็กเขียนหนังสือในขณะที่พัฒนาการกล้ามเนื้อของเด็กยังไม่พร้อม เป็นต้น จึงไม่จัดอยู่ในกลุ่มของเด็กแอลดี

     โรคแอลดีเป็นโรคที่ติดตัวเด็กไปจนโต การรักษาในวัยเด็กระยะแรกจะสามารถช่วยได้ เพราะเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้อาจประสบความสำเร็จในด้านการเรียนและด้านอื่นๆ ได้ แต่กความบกพร่องทางการเรียนรู้เป็นเสมือนโรคที่ซ่อนเร้น บางครั้งพบว่าเด็กไม่แสดงอาการชัดแจ้ง แต่ควรสังเกตและตรวจสอบตั้งแต่เด็กยังเล็กอยู่ว่าเข้าข่ายเหล่านี้หรือไม่
  • พ่อแม่ คนในครอบครัว หรือญาติผู้ใหญ่ มีประวัติเป็นแอลดี
  • แม่มีอายุน้อยมาก
  • เด็กมีน้ำหนักแรกเกิดเท่าไร น้ำหนักตัวน้อยกว่าเกณฑ์มากไหม
  • เด็กมีภาวะความบาดเจ็บทางสมองจากการคลอดก่อนหรือหลังกำหนด
  • เด็กเคยเป็นโรคที่เกิดจากการอักเสบของอวัยวะ เช่น หู ซึ่งสามารถสร้างความกระทบกระเทือนไปถึงสมองบางส่วนหรือไม่
  • เด็กอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีมลพิษ เช่น มลพิษจากสารตะกั่ว เป็นต้น
ข้อมูลมเพิ่มเติม : คลิ๊ก
                      

เด็กสมาธิสั้น
     โรคสมาธิสั้นคือ กลุ่มอาการที่เกิดขึ้นตั้งแต่วัยเด็ก (ก่อนอายุ 7 ขวบ) ซึ่งจะมีผลกระทบต่อพฤติกรรม อารมณ์ การเรียน และการเข้าสังคมกับผู้อื่นของเด็ก กลุ่มอาการนี้ได้แก่ ขาดสมาธิ (attention deficit), การขาดความสามารถในการควบคุมตัวเอง (impulsivity), อาการซน (hyperactivity) เด็กบางคนอาจจะมีอาการซนและการขาดความสามารถในการควบคุมตัวเองเป็นอาการหลัก ซึ่งพบได้บ่อยในเด็กผู้ชาย หรือบางคนอาจจะมีอาการขาดสมาธิเป็นปัญหาหลัก พบได้บ่อยพอ ๆ กันในเด็กผู้หญิงและเด็กผู้ชาย โรคสมาธิสั้นนี้พบได้บ่อยในทุกประเทศทั่วโลก ในต่างประเทศพบว่าประมาณ 3-5 เปอร์เซ็นต์ของเด็กในวัยเรียน เป็นโรคสมาธิสั้น จะสังเกตได้อย่างไรว่าเด็กเป็นโรคสมาธิสั้นหรือไม่
     1. การขาดสมาธิ (attention deficit) โดยสังเกตพบว่าเด็กจะมีลักษณะดังนี้
- ไม่สามารถทำงานที่ครู หรือพ่อแม่สั่งจนสำเร็จ
- ไม่มีสมาธิในขณะทำงานหรือเล่น
- ดูเหมือนไม่ค่อยฟังเวลาพูดด้วย
- ไม่สามารถตั้งใจฟัง และเก็บรายละเอียดได้ ทำให้ทำงานผิดพลาดบ่อย
- ไม่ค่อยเป็นระเบียบ
- วอกแวกง่าย
- ขี้ลืมบ่อย ๆ
- มีปัญหาหรือพยายามหลีกเลี่ยงงานที่ต้องใช้ความคิดหรือสมาธิ
- ทำของใช้ส่วนตัวหรือของใช้ที่จำเป็นสำหรับงานหรือการเรียนหายอยู่บ่อย ๆ
     2. การซน (hyperactivity) และการขาดความสามารถในการควบคุมตนเอง (impulsivity) เด็กจะมีลักษณะดังนี้- ยุกยิก อยู่ไม่สุข
- นั่งไม่ติดที่ ลุกเดินบ่อย ๆ ขณะอยู่ที่บ้านหรือในห้องเรียน
- ชอบวิ่ง หรือปีนป่ายสิ่งต่าง ๆ
- พูดมาก พูดไม่หยุด
- เล่นเสียงดัง
- ตื่นตัวตลอดเวลา หรือดูตื่นเต้นง่าย
- ชอบโพล่งคำตอบเวลาครูหรือพ่อแม่ถาม โดยที่ยังฟังคำถามไม่จบ
- รอคอยไม่เป็น
- ชอบขัดจังหวะหรือสอดแทรกเวลาผู้อื่นกำลังพูดอยู่
     หากเด็กมีลักษณะในข้อ 1 หรือ 2 รวมกันมากกว่า 6 ข้อ อาการเด็กของท่านมีความเป็นไปได้สูงที่จะเป็นโรคสมาธิสั้น
ข้อมูลเพิ่มเติม : คลิ๊ก

เด็กปัญญาเลิศ
     เด็กปัญญาเลิศ หมายถึง เด็กที่มีความสามารถทางสติปัญญา และความถนัดเฉพาะทางอยู่ระดับสูงกว่าเด็กอื่นในวัยเดียวกัน คำที่ใช้ในความหมายที่มีอยู่หลายคำ เช่น เด็กปัญญาเลิศ เด็กอัจฉริยะ เด็กฉลาด เด็กมีพรสวรรค์ ฯลฯ เมื่อพูดถึงเด็กปัญญาเลิศ ก็มักนึกถึงเด็กที่เรียนเก่ง สอบได้คะแนนดีหรือถือเอาเรื่องของความถนัดเฉพาะทางซึ่งเรียกกันว่า พรสวรรค์ในด้านที่เห็นได้ชัด เช่น ทางศิลปะ และดนตรีเป็นหลัก ดังนั้นเด็กที่ไม่มีโอกาสแสดงความสามารถไม่ว่าทางใด เช่น เด็กยากจน หรือยู่ในสิ่งแวดล้อมจำกัดไม่ได้รับการส่งเสริมให้เป็นเด็กมีความสามารถ ก็ไม่มีโอกาสได้ชื่อว่าเป็นเด็กปัญญาเลิศ แต่เด็กปัญญาเลิศก็ยังคงเป็นเด็กที่มีความต้องการอื่นๆ เหมือนเด็กทั่วๆไป ปัญหาที่พบมักจะเป็นผลจากสิ่งแวดล้อมที่ไม่เข้าใจธรรมชาติของเด็กกลุ่มนี้ และไม่สามารถเอื้ออำนวยต่อความต้องการและความสามารถของเด็กได้อย่างเหมาะสม จึงพบปัญหาการปรับตัวได้ เช่น การแยกตัวจากกลุ่มเพื่อน เบื่อหน่ายการเรียนที่ไม่ได้เรียนสิ่งที่ตนเองสนใจ หรือคับข้องใจที่ได้รับการส่งเสริมแต่เพียงการใช้ความสามารถทางเชาวน์ปัญญา แต่ขาดการตอบสนองทางอารมณ์ตามวัย
ความเป็นเด็กปัญญาเลิศ (gifted) มีลักษณะเด่น 3 อย่าง
     1.เรียนรู้เร็ว (precocious)
     2.มีความสนใจและเรียนรู้ในรูปแบบของตนเอง ไม่ได้เรียนตามแนวทางปกติทั่วๆ ไป
     3.มีความสนใจดื่มด่ำในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นพิเศษ อาจมุ่งมั่นดื่มด่ำมากจนไม่สนใจเรื่องอื่น หรือไม่สนใจโลกภายนอก
ข้อมูลเพิ่มเติม : คลิ๊ก , คลิ๊ก , คลิ๊ก

เด็กออทิสติก (Autistic)

     หมายถึงเด็กที่ไม่สามารถมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น โรคนี้เป็นความผิดปกติในสมองซึ่งมีอาการแสดงและความผิดปกติได้หลายรูปแบบ เด็กจะไม่สามารถเข้าใจคำพูด ความรู้สึกและความต้องการของผู้อื่น การพัฒนาด้านภาษาและสติปัญญาก็ไม่สมบูรณ์ ทำให้เด็กไม่สามารถที่จะสื่อสารกับคนรอบข้างและสังคม เด็กทำบางสิ่งซ้ำๆ
    อาการของเด็กบางคนจะแสดงออกตั้งแต่เกิดแต่ส่วนใหญ่จะแสดงออกเมื่อเด็กอายุ 18-36 เดือนเด็กจะไม่สนใจคนอื่น มีพฤติกรรมแปลกๆ สูญเสียความสามารถทางภาษาและทักษะ ผู้ปกครอง คุณครูรวมทั้งผู้ร่วมงาน ก็มีปัญหากับเด็กที่ไม่สนใจอย่างอื่นนอกจากพฤติกรรมที่ทำซ้ำซาก
     Autism คืออะไร โรค Autism เป็นความผิดปกติในสมอง เด็กที่เป็นจะมีปัญหาเรื่อง การสื่อสาร ความสัมพันธ์ กับคนรอบข้างและสิ่งแวดล้อม เด็กบางคนสามารถสื่อสารกับผู้อื่นและก็มีความฉลาด แต่เด็กบางคนเป็นเด็กปัญญาอ่อน ไม่พูด เด็กบางคนก็มีพฤติกรมทำซ้ำซาก จะเห็นว่าเด็กแต่ละคนมีอาการไม่เหมือนกัน ความรุนแรงไม่เท่ากัน แต่จะมีปัญหาทางสังคม การสื่อสาร พฤติกรรม กล้ามเนื้อและความรู้สึก
ข้อมูลเพิ่มเติม : คลิ๊ก

เด็กที่มีความบกพร่องทางอารมณ์
     เด็กบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ (Children with Behavioral and Emotional Disorders) หมายถึง เด็กที่แสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสม (ต่อต้านตนเองหรือผู้อื่น) หรือมีความรู้สึกนึกคิดที่ผิดไปจากปกติ (แสดงออกถึงความต้องการทำร้ายตนเองหรือผู้อื่น มีความเชื่อมั่นในตนเองต่ำ) ออกมาอย่างเนื่องจนถึงระดับที่ส่งผลกระทบต่อการศึกษาของเด็กไม่ว่าจะเพียงลักษณะเดียว หรือหลายลักษณะร่วมกันก็ได้ เช่น มีความยากลำบากในการเรียน ซึ่งไม่สามารถอธิบายได้ด้วยเหตุผลทางด้านสติปัญญา ประสาทสัมผัส หรือสุขภาพ มีความยากลำบากในการสร้างหรือคงไว้ซึ่งความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเพื่อนและครู แสดงออกถึงภาวะความเครียดและไม่มีความสุขอย่างเป็นปกติ มีแนวโน้มของอาการทางสุขภาพร่างกาย หรือความกลัวอันเป็นผลของปัญหาที่เกิดกับตัวเด็กเองหรือปัญหาที่เกิดในโรงเรียน ซึ่งปัจจุบันมีผู้ปกครองจำนวนไม่น้อยที่ต้องเผชิญกับปัญหาความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ของลูกครั้งแล้วครั้งเล่า ซึ่งปัญหาเหล่านั้น ส่วนใหญ่สามารถได้รับการช่วยเหลือหรือแก้ไขได้ หากเด็กได้รับการรักษาที่ถูกต้อง อย่างไรก็ตาม ปัญหาของเด็กในบางกรณีอาจจะมีความรุนแรง ซึ่งเป็นสัญญาณของปัญหาสำคัญที่เด็กกำลังเผชิญอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากปัญหาความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ของเด็กเรื้อรังติดต่อกันเป็นเวลานานจนกระทั่งเด็กโตเป็นผู้ใหญ่แล้ว ผลเสียที่ตามมาอาจลุกลามไปถึงการสูญเสียของชีวิตก็เป็นได้
ข้อมูลเพิ่มเติม : คลิ๊ก

การนำไปประยุกต์ใช้
     ได้ความรู้เพิ่มเติมและลึกซึ่งยิ่งขึ้นว่าเด็กที่มีความต้องการพิเศษอาการแบบนี้คือเด็กกลุ่มประเภทใด เมื่ออนาคตถ้าเจอกลุ่มเด็กที่มีความต้องการพิเศษ เราสามารถนำความรู้ที่ได้ไปเป็นแนวทางในการรับมือ ดูแล การเข้าหา และแนวทางในจัดกิจกรรมที่ช่วยฝึกพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ ด้านสังคม ด้านสติปัญญา อย่างถูกต้องเหมาะสมต่อไป

การประเมินผล
  • การประเมินตนเอง - การแต่งกายสะอาดเรียบร้อยถูกระเบียบ เข้าห้องเรียนตรงต่อเวลา ตั้งใจฟังเพื่อนแต่ละกลุ่มนำเสนอ
  • การประเมินเพื่อน - การแต่งกายสะอาดเรียบร้อยถูกระเบียบ ไม่คุยกันเสียงดังระหว่างที่เพื่อนแต่ละกลุ่มนำเสนออยู่
  • การประเมินอาจารย์ - การแต่งกายสะอาดสุภาพ เข้าสอนตรงต่อเวลา และให้คำชี้แจงได้ละเอียด
คลิกๆๆ เข้าไปเยี่ยมแฟนเพจกัน...

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น