บันทึกอนุทิน
วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี 25 พฤศจิกายน พ.ศ.2557
ครั้งที่ 15 กลุ่มเรียน 101 (วันอังคาร ตอนเที่ยง)
เวลาเข้าเรียน 12:20 – 15:00 น. ห้อง 234 อาคาร 2
วันนี้เรียนในหัวข้อ การส่งเสริมพัฒนาการและการปรับพฤติกรรมเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ เด็กสมาธิสั้น(ADHD)
เวลาเข้าเรียน 12:20 – 15:00 น. ห้อง 234 อาคาร 2
วันนี้เรียนในหัวข้อ การส่งเสริมพัฒนาการและการปรับพฤติกรรมเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ เด็กสมาธิสั้น(ADHD)
Mind Map
ห้องเรียนแรกของเด็กพิเศษ
เมื่อดู VDO เสร็จอาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม 6-7 คน เขียน Mind Map ในหัวข้อเรื่อง ศูนย์ EI
1.การส่งต่อจากครอบครัวหรือผู้เชี่ยวชาญ คือ ส่งต่อมาจากแพทย์หรือเด็กที่มีความพิการตั้งแต่แรกที่เห็นชัด เราก็จะมาสัมภาษณ์เบื้องต้น
2.ประเมินพัฒนาการตามวัย
3.การจัดแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล คือ เพื่อวางแผนการเรียนรู้เฉพาะทักษะ 6 ด้าน ส่วนการจัดแผนการศึกษาเฉพาะครอบครัว เด็กอายุ 0-3 ขวบ จะจัดแผน IFSP
4.การจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะอย่างรอบด้าน
5.การประเมิน
การออกแบบกิจกรรมเพื่อกระตุ้นพัฒนาการอย่างรอบด้าน
- กิจกรรมพัฒนาการเคลื่อนไหว การทรงตัว ภาษา
- กิจกรรมพัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่ กล้ามเนื้อมัดเล็ก และสมาธิ
- กิจกรรมพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก การรับรู้สัมผัส
- กิจกรรมพัฒนาทักษะการมอง ทำตามคำสั่งและการสื่อสาร
- กิจกรรมพัฒนาทักษะการมอง ทำตามคำสั่งและพื้นฐานวิชาการ
- กิจกรรมพัฒนาทักษะการฟัง การทรงตัว การสัมผัส
ความรู้เพิ่มเติม
Early Intervention : EI การให้บริการช่วยเหลือผู้ที่มีความบกพร่องประเภทต่างๆ ตั้งแต่แรกเกิดหรือแรกพบความพิการตามความต้องการจำเป็นพิเศษของแต่ละบุคคลโดยมุ่งการให้ความช่วยเหลือเริ่มต้นเร็วที่สุด ก็จะสามารถทำให้เด็กได้รับประโยชน์มากขึ้นเท่านั้น
1. ความหมายของการให้บริหารช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม ( Early Intervention : EI )
การให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม (Early Intervention : EI ) หมายถึงการจัดโปรแกรมที่เป็นระบบในการให้บริการด้านต่าง ๆ โดยเร็วที่สุดแก่เด็กที่มีความเสี่ยงทุกระดับทันทีตั้งแต่แรกเกิดหรือทันที ที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีความพิการ โดยมุ่งเน้นการให้การศึกษากับพ่อแม่และครอบครัว ทั้งนี้มุ่งพัฒนาเด็กให้ได้รับบริการจากนักวิชาชีพที่หลากหลายทั้งด้านการ ศึกษา ด้านสุขภาพอนามัย การบำบัดรักษา ตลอดจนป้องกัน ความพิการที่จะเกิดขึ้นเพื่อให้เด็กมีพัฒนาการไปตามขั้นตอน เช่นเดียวกับเด็กทั่วไป หรือใกล้เคียงเด็กทั่วไปมากที่สุด
2. ความสำคัญในการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม
เบญจา ชลธาร์นนท์ (2538) ได้กล่าวถึงเหตุผลความจำเป็นที่ต้องให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มไว้ 4 ประการ ดังนี้
(1) การให้การช่วยเหลือในระยะแรก ๆ ของชีวิตจะช่วยค้ำจุนพัฒนาการของเด็กและทำให้เด็กสามารถพัฒนาได้ถึงขีดสูงสุด
(2) หากไม่ให้การช่วยเหลือที่ครอบคลุมทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านสุขภาพอนามัย ด้านจิตวิทยาและการศึกษาแล้ว เด็กที่มีความบกพร่องและเด็กที่อยู่ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง (High risk group) ที่มีปัญหาในเรื่องพัฒนาการ อาจไม่สามารถพัฒนาทักษะของเขาในวัยตอนต้นของชีวิตและพัฒนาความสัมพันธ์ ที่จำเป็นที่จะดำเนินชีวิตอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
(3) การให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มมีจุดมุ่งหมายสำคัญ เพื่อป้องกันความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นก่อนหรือระหว่างคลอด และแก้ไขความบกพร่องนั้น
(4) การที่ประเทศไทยได้ยึดถือเอา “การเรียนร่วม” เป็นรูปแบบหนึ่งในการจัดบริการการศึกษาพิเศษให้แก่เด็กที่มีความบกพร่องต่าง ๆ เด็กเหล่านี้จำเป็นต้องได้รับบริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม หรือการศึกษาระยะแรกเริ่ม เพื่อเตรียมให้สามารถเข้าเรียนร่วมในระดับอนุบาลศึกษา และประถมศึกษาต่อไป
ดังนั้นการให้ความช่วยเหลือเด็กพิการจึงควรเริ่มโดยเร็วที่สุด การให้ความช่วยเหลือเร็วเท่าใดยิ่งทำให้เด็กได้รับประโยชน์มากขึ้นเท่านั้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการค้นหาสภาพความพิการได้เร็วนั่นเอง
การนำไปประยุกต์ใช้
สามารถนำความรู้เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมให้เหมาะสมตามวัยของเด็ก ว่าเด็กสมาธิสั้นควรได้รับการฝึกฝนอย่างไร เช่น กิจกรรมพัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่ กล้ามเนื้อมัดเล็ก และสมาธิ เราต้องมีจุดมุ่งหมายให้เด็ก คือ กิจกรรมเราอาจฝึกให้เด็กเดินก้าวข้ามสิ่งของไปข้างหน้า และไปหยิบสิ่งของ เช่น เราวางแท่งไม้รอยลูกปัดเอาไว้เมื่อถึงโต๊ะให้เขาหยิบลูกปัดใส่ลงไปในแท่งไม้แล้วเดินข้ามสิ่งของกลับมายังจุดเริ่มต้น ซึ่งจะฝึกการใช้กล้ามเนื้อมือกับตาให้สัมพันธ์กัน ฝึกสมาธิ
การประเมินผล
- การประเมินตนเอง - การแต่งกายสะอาดเรียบร้อยถูกระเบียบ เข้าห้องเรียนตรงต่อเวลา ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน จดเนื้อหาเพิ่มเติม รู้สึกสนุก หัวเราะ เวลาที่อาจารย์สมมติเหตุการณ์ต่างๆขึ้นมาทำให้บรรยากาศในห้องไม่เครียด ตอนดูวีดีโอชอบวิธีการจัดกิจกรรมของเขา อย่างถ้าเราคิดว่าจะรับมือไหวไหมเจอเด็กสมาธิสั้นแล้วเราจะจัดกิจกรรมอย่างไร คงยากคิดไม่ออก แต่พอดูแล้วรู้สึกว่ามันไม่ได้มีอะไรยุ่งยากอย่างที่คิด การจัดกิจกรรมมีวิธีไม่ซับซ้อน เด็กได้พัฒนาการตามวัย เข้าใจเด็กค่อยๆฝึกฝน
- การประเมินเพื่อน - แต่งกายสะอาดเรียบร้อย สนุกสนานกับการเรียน ทุกคนต่างสนใจในการเรียนการสอน และตั้งใจฟังอาจารย์ยกตัวอย่างประสบการณ์ต่างๆ มีเสียงหัวเราะตลอดเวลา แต่พอถึงเวลาดูวีดีโอ เพื่อนๆก็ตั้งใจฟังและจดบันทึกเนื้อหา พอทำงานกลุ่มทุกคนก็ช่วยเหลือกันอย่างเต็มที่ ช่วยกันหาข้อมูล ตกแต่งงาน
- การประเมินอาจารย์ - การแต่งกายสะอาดสุภาพ อาจารย์สอนเนื้อหาละเอียด มีประสบการณ์มาเล่าให้ฟังเยอะแยะทำให้เด็กนึกภาพตามได้ตลอด แสดงบทบาทสมมติทำให้นักศึกษาเกิดเสียงหัวเราะ สนุกสนานในการเรียน ไม่เครียด วีดีโอเหมาะสมกับเนื้อหาในการเรียนดีมาก