บันทึกอนุทิน
วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี 4 พฤศจิกายน พ.ศ.2557
ครั้งที่ 12 กลุ่มเรียน 101 (วันอังคาร ตอนเที่ยง)
เวลาเข้าเรียน 12:20 – 15:00 น. ห้อง 234 อาคาร 2
วันนี้อาจารย์เฉลยข้อสอบทั้งหมด 60 ข้อ ที่ได้สอบไปเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว และอาจารย์อธิบายเนื้อหาแต่ละข้อเพิ่มเติม เพื่อให้นักศึกษาทบทวนความรู้เดิมที่ได้เรียนมาไปด้วย
การนำไปประยุกต์ใช้
- ปิดไฟ ใช้ไฟฉายส่องไปที่ฝา ให้เด็กใช้ไฟฉายอีกดวงฉายตามไปที่จุดทีคุณฉาย
- เปิดไฟหลายสี ทำไฟสีจ้า เป็นไฟนิ่ง ไฟสลัว ไฟกระพริบ ทำที่ละสีหรือทำสลับกันไปมา เปิดไฟสีอ่อน สลับไปมา ทำเป็นไฟจ้า ไฟนิ่ง ไฟสลัวและไฟกระพริบ
- ให้หาสิ่งของมีสีสันในหญ้า
- ใช้ลูกแก้วหลายสี หลายลูก กลิ้งในราง ให้เด็กหยิบลูกแก้วตามสีที่คุณบอก
- เป่าลูกโป่งหลายสีให้ลอยในอากาศ ให้เด็กมองตามลูกโป่งและให้เดาว่าลูกโป่งจะลอยไปทางใด
ปัญหาการได้ยิน เด็กสมาธิสั้นควรฝึก
- ให้ฟังเสียงในทิศทางต่างๆกันและให้เด็กบอกว่าเสียงดังมาจากด้านใด
- เล่นเกมทายเสียง ทั้งทำให้ดังและดังแผ่วๆ หรือ ผสมเสียงให้แยกให้ออกว่าเป็นเสียงอะไร
- เปิดเพลงช้าแล้วให้เดิน เปิดเพลงกำลังดีแล้วให้เตะขาตามจังหวะและเปิดเพลงเร็ว เช่น จังหวะเร็กเก้ ให้เด็กเต้นตามจังหวะ พร้อมตบมือให้เป็นไปตามจังหวะ ลดเสียงและให้เต้นตามจังหวะ
ปัญหาการรับรู้ผ่านกล้ามเนื้อเอ็นข้อต่อ เด็กสมาธิสั้นควรฝึก
- ให้หิ้ว ลาก ผลัก ดึง ของที่มีน้ำหนัก
- โหนราว ไต่ราวกลางแจ้ง
- กระโดดบนที่กระโดดสปริงก์หรือแทมโบลีน คลานบนพื้น ใช้มือตบบอลล์เข้ากำแพง
ปัญหาการเคลื่อนไหวและการทรงตัว เด็กสมาธิสั้นควรฝึก
- การวิ่งแล้วหมุนตัวกลับไปมา
- นำเก้าอี้มาวาง 2 ตัว ให้ห่างกันประมาณ 1 เมตร ให้เด็กเดินเป็นเลขแปดและวิ่งเป็นเลขแปด
- กระโดดเชือก เดินเป็นวงกลม วงรี
การประเมินผล
เวลาเข้าเรียน 12:20 – 15:00 น. ห้อง 234 อาคาร 2
วันนี้อาจารย์เฉลยข้อสอบทั้งหมด 60 ข้อ ที่ได้สอบไปเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว และอาจารย์อธิบายเนื้อหาแต่ละข้อเพิ่มเติม เพื่อให้นักศึกษาทบทวนความรู้เดิมที่ได้เรียนมาไปด้วย
การนำไปประยุกต์ใช้
สามารถแยกประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษได้ และจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับพัฒนาการตามวัยของเด็กแต่ละกลุ่ม หรือจัดสิ่งแวดล้อมและกิจกรรมให้เหมาะสมกับเด็กเป็นรายบุคคล เพื่อให้สมองจัดระเบียบข้อมูลที่รับผ่านความรู้สึก ปรับระดับ แยกแยะ ประมวลผลหรือบูรณาการข้อมูลอย่างถูกต้องสมบูรณ์ เช่น
ปัญหาการรับรู้ทางสายตา เด็กสมาธิสั้นควรฝึก- ปิดไฟ ใช้ไฟฉายส่องไปที่ฝา ให้เด็กใช้ไฟฉายอีกดวงฉายตามไปที่จุดทีคุณฉาย
- เปิดไฟหลายสี ทำไฟสีจ้า เป็นไฟนิ่ง ไฟสลัว ไฟกระพริบ ทำที่ละสีหรือทำสลับกันไปมา เปิดไฟสีอ่อน สลับไปมา ทำเป็นไฟจ้า ไฟนิ่ง ไฟสลัวและไฟกระพริบ
- ให้หาสิ่งของมีสีสันในหญ้า
- ใช้ลูกแก้วหลายสี หลายลูก กลิ้งในราง ให้เด็กหยิบลูกแก้วตามสีที่คุณบอก
- เป่าลูกโป่งหลายสีให้ลอยในอากาศ ให้เด็กมองตามลูกโป่งและให้เดาว่าลูกโป่งจะลอยไปทางใด
ปัญหาการได้ยิน เด็กสมาธิสั้นควรฝึก
- ให้ฟังเสียงในทิศทางต่างๆกันและให้เด็กบอกว่าเสียงดังมาจากด้านใด
- เล่นเกมทายเสียง ทั้งทำให้ดังและดังแผ่วๆ หรือ ผสมเสียงให้แยกให้ออกว่าเป็นเสียงอะไร
- เปิดเพลงช้าแล้วให้เดิน เปิดเพลงกำลังดีแล้วให้เตะขาตามจังหวะและเปิดเพลงเร็ว เช่น จังหวะเร็กเก้ ให้เด็กเต้นตามจังหวะ พร้อมตบมือให้เป็นไปตามจังหวะ ลดเสียงและให้เต้นตามจังหวะ
ปัญหาการรับรู้ผ่านกล้ามเนื้อเอ็นข้อต่อ เด็กสมาธิสั้นควรฝึก
- ให้หิ้ว ลาก ผลัก ดึง ของที่มีน้ำหนัก
- โหนราว ไต่ราวกลางแจ้ง
- กระโดดบนที่กระโดดสปริงก์หรือแทมโบลีน คลานบนพื้น ใช้มือตบบอลล์เข้ากำแพง
ปัญหาการเคลื่อนไหวและการทรงตัว เด็กสมาธิสั้นควรฝึก
- การวิ่งแล้วหมุนตัวกลับไปมา
- นำเก้าอี้มาวาง 2 ตัว ให้ห่างกันประมาณ 1 เมตร ให้เด็กเดินเป็นเลขแปดและวิ่งเป็นเลขแปด
- กระโดดเชือก เดินเป็นวงกลม วงรี
การประเมินผล
- การประเมินตนเอง - การแต่งกายสะอาดเรียบร้อยถูกระเบียบ เข้าห้องเรียนตรงต่อเวลา ในการสอบครั้งนี้ดิฉันทำคะแนนออกมาเป็นที่น่าพอใจในระดับหนึ่ง คิดว่าพอใจในความสามารถเพราะข้อสอบก็ไม่ง่าย และตั้งใจฟังที่อาจารย์เฉลยข้อสอบ ได้รู้ว่าข้อไหนเราทำผิด เพราะอะไรถึงผิด และข้อที่ถูกต้อง พอรู้ว่าข้อไหนที่ตัวเองตอบผิดรู้สึกเสียดายมาก บางข้ออ่านโจทย์ผิดกับข้อสอบข้อแรกๆไม่ได้อ่านมา อ่านแต่เด็กที่มีความบกพร่อง รู้เลยว่าตัวเองคงทำผิดช่วงนั้นเยอะ แต่ก็ทบทวนไปด้วยตั้งใจอ่านใหม่และจะพยายามทำให้ดีขึ้นในการสอบครั้งต่อไปจะไม่ประมาท
- การประเมินเพื่อน - สนุกสนานกับการเรียน ทุกคนต่างสนใจในการฟังคำตอบที่ถูกในแต่ละข้อว่าตัวเองทำผิดข้อไหน เพราะอะไรถึงไม่ใช่ เพื่อนๆเกือบทั้งห้องทำคะแนนได้ดีทุกคน บางคนก็ต้องพยายามถีบตัวเองให้ดีขึ้น คนที่ได้คะแนนสูงก็อย่าชะล่าใจ แต่ในภาพรวมถือว่าโอเค
- การประเมินอาจารย์ - การแต่งกายสะอาดสุภาพ อาจารย์อธิบายความรู้เพิ่มเติมในแต่ละข้อทำให้เข้าใจมากขึ้น นักศึกษาได้ทบทวนความรู้เดิมไปด้วย และรู้ว่าส่วนมากที่ตอบผิดเพราะอะไร ข้อสอบบางข้อพอรู้ว่าคำตอบอาจารย์แต่งขึ้นมาเอง เซ็งเลย และได้เล่าประสบการณ์ของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ พร้อมแสดงบทบาทสมมติได้เหมือนจริงทำให้มองเห็นภาพ อาจารย์พูดเพราะ น่ารัก น่าใส ยิ้มแย้มตลอดเวลา ทำให้บรรยากาศในห้องเรียนน่าเรียน ไม่เครียด เป็นกันเองกับนักศึกษา มีความสุขที่เรียน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น