วันอังคารที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่13

บันทึกอนุทิน
วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี  11 พฤศจิกายน พ.ศ.2557
ครั้งที่ 13 กลุ่มเรียน 101 (วันอังคาร ตอนเที่ยง)
เวลาเข้าเรียน 12:20 – 15:00 น. ห้อง 234 อาคาร 2

     วันนี้เรียนในหัวข้อ การส่งเสริมพัฒนาการและการปรับพฤติกรรมเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
Mind Map

Down's Syndrome แนวทางการดูแลรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ
     1.ด้านสุขภาพอนามัย
  • แนะนำบิดามารดาให้พาบุตรไปพบแพทย์ตั้งแต่เริ่มแรก
  • ติดตามการรักษาเป็นระยะๆ เพื่อแพทย์จะได้ให้การรักษาและให้คำแนะนำต่างๆ
  • การให้คำแนะนำปรึกษาทางพันธุศาสตร์ การวางแผนครอบครัว ความเสี่ยงในการเกิดซ้ำของโรคในครอบครัวและการวินิจฉัยก่อนคลอด
     2.การส่งเสริมพัฒนาการ
  • เด็กกลุ่มอาการดาวน์สามารถพัฒนาได้ถ้าได้รับการฝึกสอนที่เหมาะสม
  • แนะนำบิดามารดาเรื่องความสำคัญของการส่งเสริมพัฒนาการ วิธีการ ฝึกฝนบุตรที่บ้านอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอเพื่อให้มีพัฒนาการใกล้เคียงกับเด็กทั่วไป
     3.การดำรงชีวิตประจำวัน
  • ฝึกให้ช่วยเหลือตนเองได้มากที่สุด เพื่อให้สามารถไปเรียนและใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้
  • รู้จักควบคุมตนเอง มีสัมพันธภาพกับผู้อื่น
  • ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของสังคมและสามารถใช้บริการต่างๆในสังคมได้
     4.การฟื้นฟูสมรรถภาพ
  • การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ เช่น การฝึกพูด กายภาพบำบัด กิจกรรมบำบัด
  • การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษาโดยจัดทำแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Program : IEP)
  • การฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม เช่น การฝึกทักษะการดำรงชีวิตประจำวัน (Activity of Daily Living Skills) การจดทะเบียนรับรองความพิการ
  • การฟื้นฟูสมรรถภาพทางอาชีพโดยการฝึกอาชีพ
Autistic แนวทางการดูแลรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ
     1.ส่งเสริมความเข้มแข็งครอบครัว
  • ครอบครัวมีบทบาทสำคัญที่สุดในกระบวนการดูแลช่วยเหลือ
  • ไม่ใช่หน้าที่ของใครคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นหน้าที่ของทุกคน
  • เรียนรู้และเข้าใจเกี่ยวกับออทิสติก
  • ทักษะต่างๆของเด็กจะสั่งสมตามประสบการณ์
  • ไม่ต้องกังวลว่าเด็กจะทำไม่ได้หรือทำได้ไม่ดี
  • ค่อยๆพัฒนาวิธีการตามคำชี้แนะจากผู้เชี่ยวชาญ
     2.ส่งเสริมความสามารถของเด็ก
  • ไม่มุ่งแก้ไขเฉพาะความบกพร่องเพียงด้านเดียว
  • มุ่งส่งเสริมความสามารถที่เด็กมีควบคู่ไปด้วย
  • เปิดโอกาสให้เด็กได้ทำบ่อยๆแล้วสอนเพิ่มในเรื่องที่ใกล้เคียงกับสิ่งที่เด็กทำได้
  • เสริมสร้างโอกาสให้เด็กได้เล่นของเล่นที่หลากหลาย
  • ได้ทำกิจกรรมที่หลากหลาย
     3.พฤติกรรมบำบัด
  • ส่งเสริมพฤติกรรมที่เหมาะสมให้คงอยู่ต่อเนื่อง
  • หยุดพฤติกรรมที่เป็นปัญหา
  • สร้างพฤติกรรมใหม่ที่ต้องการ
  • ช่วยเสริมสร้างทักษะด้านภาษา ด้านสังคม และทักษะอื่นๆ
  • ใช้พื้นฐานของทฤษฎีการเรียนรู้
  • การให้แรงเสริม
     4.การส่งเสริมพัฒนาการ
  • ยึดหลักและลำดับขั้นพัฒนาการของเด็กปกติ
  • ควรทำตั้งแต่อายุน้อย โดยต้องทำอย่างเข้มข้น สม่ำเสมอ และต่อเนื่องในระยะเวลาที่นานพอ
  • เหมาะสมตามสภาพปัญหา ความสามารถ และความเร็วในการเรียนรู้ของแต่ละคนที่มีความแตกต่างกัน
  • เน้นในเรื่องการมองหน้าสบตา การมีสมาธิ การฟัง และทำตามคำสั่ง
     5.การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์
  • การแก้ไขการพูด (Speech Therapy)
  • การสื่อความหมายทดแทน (Augmentative and Alternative Communication : AAC) เพื่อใช้ทดแทนการพูดเป็นการชั่วคราว
  • กิจกรรมบำบัด (Occupational Therapy)
     6.การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษา
  • เพิ่มทักษะพื้นฐานด้านสังคม การสื่อสาร และทักษะทางความคิด
  • เกิดผลดีในระยะยาว
  • เน้นการเตรียมความพร้อมเพื่อให้เด็กสามารถใช้ในชีวิตประจำวันจริงๆแทนการฝึกแต่เพียงทักษะทางวิชาการ
  • แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Program : IEP)
  • โรงเรียนการศึกษาพิเศษเฉพาะทาง โรงเรียนเรียนร่วม ห้องเรียนคู่ขนาน
     7.การฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม
  • การฝึกฝนทักษะในชีวิตประจำวัน (Activity of Daily Living Training)
  • การฝึกฝนทักษะทางสังคม (Social Skill Training)
  • การสอนเรื่องราวทางสังคม (Social Story)
     8.การรักษาด้วยยา
  • เพื่อบรรเทาอาการยางอย่างที่เกิดร่วมด้วย
  • เด็กไม่จำเป็นต้องรักษาด้วยยาทุกคน
  • ในปัจจุบันยังไม่พบว่ามียาตัวใดที่ช่วยแก้ไขความบกพร่องด้านการสื่อสารและด้านสังคม
  • เพื่อลดพฤติกรรมไม่มีสมาธิ อยู่ไม่นิ่ง หุนหันพลันแล่น
     9.การบำบัดทางเลือก
  • การสื่อความหมายทดแทน (AAC)
  • ศิลปกรรมบำบัด (Art Therapy)
  • ดนตรีบำบัด (Music Therapy)
  • การฝังเข็ม (Acupuncture)
  • การบำบัดด้วยสัตว์ (Animal Therapy)
     10.พ่อแม่
  • ลูกต้องพัฒนาได้
  • เรารักลูกของเรา ไม่ว่าเขาจะเป็นอย่างไร
  • ถ้าเราไม่รัก แล้วใครจะรัก
  • หยุดไม่ได้
  • ดูแลจิตใจและร่างกายของตนเองให้เข็มแข็ง
  • ไม่กล่าวโทษตนเองหรือคู่สมรส
  • ควรหันหน้าปรึกษากันในครอบครัว
การนำไปประยุกต์ใช้
     นำไปเป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมให้กับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ควรจัดให้ถูกต้องเด็กได้รับพัฒนาการที่ดีเหมาะสมตามวัย หรือนำไปให้คำปรึกษา ให้ความรู้วิธีการเลี้ยงดูให้กับพ่อแม่เด็กที่มีความต้องการพิเศษ
การประเมินผล
  • การประเมินตนเอง - การแต่งกายสะอาดเรียบร้อยถูกระเบียบ เข้าห้องเรียนตรงต่อเวลา ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน บางครั้งอาจคุยบ้าง ชอบที่อาจารย์สอนในรายละเอียดที่ลึกลงไปอีก รู้สึกสนุกและมีความสุขเวลาที่อาจารย์แสดงบทบาทสมมติ เป็นกันเอง
  • การประเมินเพื่อน - แต่งกายสะอาดเรียบร้อย สนุกสนานกับการเรียน ทุกคนต่างสนใจในการเรียนการสอน และตั้งใจฟังอาจารย์ยกตัวอย่างประสบการณ์
  • การประเมินอาจารย์ - การแต่งกายสะอาดสุภาพ อาจารย์สอนเนื้อหาละเอียด มีประสบการณ์มาเล่าให้ฟังเยอะแยะทำให้เด็กนึกภาพตามได้ แสดงบทบาทสมมติทำให้เกิดเสียงหัวเราะ สนุกสนานในการเรียน ไม่เครียด
คลิกๆๆ เข้าไปเยี่ยมแฟนเพจกัน...

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น