วันอังคารที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่16

บันทึกอนุทิน
วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี  2 ธันวาคม พ.ศ.2557
ครั้งที่ 1ุ6 กลุ่มเรียน 101 (วันอังคาร ตอนเที่ยง)
เวลาเข้าเรียน 12:20 – 15:00 น. ห้อง 234 อาคาร 2

     สัปดาห์นี้เป็นชั่วโมงเรียนคาบสุดท้าย วันนี้อาจารย์ได้แจกของรางวัลเด็กดีให้กับเพื่อนๆ พร้อมทั้งพูดคุยกับนักศึกษา 3 เรื่อง
     เรื่องที่ 1 กำหนดส่งบล็อก วันอาทิตย์ที่ 21 ธันวาคม 2557 ก่อนเที่ยงคืน
     เรื่องที่ 2 เตือนวันที่สอบให้ทุกคนเตรียมตัวให้พร้อม ดูห้อง เลขที่สอบให้ละเอียด
     เรื่องที่ 3 พูดในเรื่องใครที่สอบกลางภาคไม่ผ่านให้ไปพบอาจารย์
จากนั้นอาจารย์แนะแนวเรื่องสอบปลายภาคให้กับนักศึกษา พร้อมให้ทุกคนเขียนใบประเมินการสอนในรายวิชานี้
เพื่อนๆที่ได้รางวัลเด็กดี

รางวัลเด็กดีของดิฉันค่ะ^^


การประเมินผล
  • การประเมินตนเอง - แต่งกายสะอาดเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลา วันนี้ได้รางวัลเด็กดี รู้สึกตกใจที่ได้ เพราะคิดว่าไม่น่าจะได้ แล้วก็สนุกมากเวลาที่อาจารย์เล่าเรื่องต่างๆ สนุกตลก ชอบเวลาที่อาจารย์ร่าเริงพูดไพเราะ เสียงนุ่มๆน่าฟัง และตั้งใจเขียนใบประเมินมากๆได้ความรู้มากจากการเรียนวิชานี้ อยากจะเรียนกับอาจารย์ทุกวิชาเลยค่ะ
  • การประเมินเพื่อน - แต่งกายสะอาดเรียบร้อย สนุกสนานกับการเรียน มีเสียงหัวเราะตลอดไม่ขาดสาย ทุกคนตั้งใจเขียนแบบประเมิน
  • การประเมินอาจารย์ - การแต่งกายสะอาดสุภาพ อาจารย์พูดจาไพเราะน่าฟังตั้งแต่ชั่วโมงแรกที่เรียนด้วยกัน เสมอต้นเสมอปลาย น่ารักกับนักศึกษาทุกคนไม่มีแบ่งว่าใครคนไหนเด็กอาจารย์นะ ยุติธรรมในการให้คะแนและการสอน ใส่ใจนักเรียนทุกคน
คลิกๆๆ เข้าไปเยี่ยมแฟนเพจกัน...

วันอังคารที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่15

บันทึกอนุทิน
วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี  25 พฤศจิกายน พ.ศ.2557
ครั้งที่ 15 กลุ่มเรียน 101 (วันอังคาร ตอนเที่ยง)
เวลาเข้าเรียน 12:20 – 15:00 น. ห้อง 234 อาคาร 2

     วันนี้เรียนในหัวข้อ การส่งเสริมพัฒนาการและการปรับพฤติกรรมเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ เด็กสมาธิสั้น(ADHD)
Mind Map

ห้องเรียนแรกของเด็กพิเศษ

     เมื่อดู VDO เสร็จอาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม 6-7 คน เขียน Mind Map ในหัวข้อเรื่อง ศูนย์ EI
     1.การส่งต่อจากครอบครัวหรือผู้เชี่ยวชาญ คือ ส่งต่อมาจากแพทย์หรือเด็กที่มีความพิการตั้งแต่แรกที่เห็นชัด เราก็จะมาสัมภาษณ์เบื้องต้น
     2.ประเมินพัฒนาการตามวัย
     3.การจัดแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล คือ เพื่อวางแผนการเรียนรู้เฉพาะทักษะ 6 ด้าน ส่วนการจัดแผนการศึกษาเฉพาะครอบครัว เด็กอายุ 0-3 ขวบ จะจัดแผน IFSP
     4.การจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะอย่างรอบด้าน
     5.การประเมิน
การออกแบบกิจกรรมเพื่อกระตุ้นพัฒนาการอย่างรอบด้าน
  • กิจกรรมพัฒนาการเคลื่อนไหว การทรงตัว ภาษา
  • กิจกรรมพัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่ กล้ามเนื้อมัดเล็ก และสมาธิ
  • กิจกรรมพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก การรับรู้สัมผัส
  • กิจกรรมพัฒนาทักษะการมอง ทำตามคำสั่งและการสื่อสาร
  • กิจกรรมพัฒนาทักษะการมอง ทำตามคำสั่งและพื้นฐานวิชาการ
  • กิจกรรมพัฒนาทักษะการฟัง การทรงตัว การสัมผัส
ความรู้เพิ่มเติม
     Early Intervention : EI การให้บริการช่วยเหลือผู้ที่มีความบกพร่องประเภทต่างๆ ตั้งแต่แรกเกิดหรือแรกพบความพิการตามความต้องการจำเป็นพิเศษของแต่ละบุคคลโดยมุ่งการให้ความช่วยเหลือเริ่มต้นเร็วที่สุด ก็จะสามารถทำให้เด็กได้รับประโยชน์มากขึ้นเท่านั้น
1. ความหมายของการให้บริหารช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม ( Early Intervention : EI )
     การให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม (Early Intervention : EI ) หมายถึงการจัดโปรแกรมที่เป็นระบบในการให้บริการด้านต่าง ๆ โดยเร็วที่สุดแก่เด็กที่มีความเสี่ยงทุกระดับทันทีตั้งแต่แรกเกิดหรือทันที ที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีความพิการ โดยมุ่งเน้นการให้การศึกษากับพ่อแม่และครอบครัว ทั้งนี้มุ่งพัฒนาเด็กให้ได้รับบริการจากนักวิชาชีพที่หลากหลายทั้งด้านการ ศึกษา ด้านสุขภาพอนามัย การบำบัดรักษา ตลอดจนป้องกัน ความพิการที่จะเกิดขึ้นเพื่อให้เด็กมีพัฒนาการไปตามขั้นตอน เช่นเดียวกับเด็กทั่วไป หรือใกล้เคียงเด็กทั่วไปมากที่สุด
2. ความสำคัญในการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม
     เบญจา ชลธาร์นนท์ (2538) ได้กล่าวถึงเหตุผลความจำเป็นที่ต้องให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มไว้ 4 ประการ ดังนี้
     (1) การให้การช่วยเหลือในระยะแรก ๆ ของชีวิตจะช่วยค้ำจุนพัฒนาการของเด็กและทำให้เด็กสามารถพัฒนาได้ถึงขีดสูงสุด
     (2) หากไม่ให้การช่วยเหลือที่ครอบคลุมทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านสุขภาพอนามัย ด้านจิตวิทยาและการศึกษาแล้ว เด็กที่มีความบกพร่องและเด็กที่อยู่ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง (High risk group) ที่มีปัญหาในเรื่องพัฒนาการ อาจไม่สามารถพัฒนาทักษะของเขาในวัยตอนต้นของชีวิตและพัฒนาความสัมพันธ์ ที่จำเป็นที่จะดำเนินชีวิตอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
     (3) การให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มมีจุดมุ่งหมายสำคัญ เพื่อป้องกันความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นก่อนหรือระหว่างคลอด และแก้ไขความบกพร่องนั้น
     (4) การที่ประเทศไทยได้ยึดถือเอา “การเรียนร่วม” เป็นรูปแบบหนึ่งในการจัดบริการการศึกษาพิเศษให้แก่เด็กที่มีความบกพร่องต่าง ๆ เด็กเหล่านี้จำเป็นต้องได้รับบริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม หรือการศึกษาระยะแรกเริ่ม เพื่อเตรียมให้สามารถเข้าเรียนร่วมในระดับอนุบาลศึกษา และประถมศึกษาต่อไป
ดังนั้นการให้ความช่วยเหลือเด็กพิการจึงควรเริ่มโดยเร็วที่สุด การให้ความช่วยเหลือเร็วเท่าใดยิ่งทำให้เด็กได้รับประโยชน์มากขึ้นเท่านั้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการค้นหาสภาพความพิการได้เร็วนั่นเอง

การนำไปประยุกต์ใช้
     สามารถนำความรู้เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมให้เหมาะสมตามวัยของเด็ก ว่าเด็กสมาธิสั้นควรได้รับการฝึกฝนอย่างไร เช่น กิจกรรมพัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่ กล้ามเนื้อมัดเล็ก และสมาธิ เราต้องมีจุดมุ่งหมายให้เด็ก คือ กิจกรรมเราอาจฝึกให้เด็กเดินก้าวข้ามสิ่งของไปข้างหน้า และไปหยิบสิ่งของ เช่น เราวางแท่งไม้รอยลูกปัดเอาไว้เมื่อถึงโต๊ะให้เขาหยิบลูกปัดใส่ลงไปในแท่งไม้แล้วเดินข้ามสิ่งของกลับมายังจุดเริ่มต้น ซึ่งจะฝึกการใช้กล้ามเนื้อมือกับตาให้สัมพันธ์กัน ฝึกสมาธิ

การประเมินผล
  • การประเมินตนเอง - การแต่งกายสะอาดเรียบร้อยถูกระเบียบ เข้าห้องเรียนตรงต่อเวลา ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน จดเนื้อหาเพิ่มเติม รู้สึกสนุก หัวเราะ เวลาที่อาจารย์สมมติเหตุการณ์ต่างๆขึ้นมาทำให้บรรยากาศในห้องไม่เครียด ตอนดูวีดีโอชอบวิธีการจัดกิจกรรมของเขา อย่างถ้าเราคิดว่าจะรับมือไหวไหมเจอเด็กสมาธิสั้นแล้วเราจะจัดกิจกรรมอย่างไร คงยากคิดไม่ออก แต่พอดูแล้วรู้สึกว่ามันไม่ได้มีอะไรยุ่งยากอย่างที่คิด การจัดกิจกรรมมีวิธีไม่ซับซ้อน เด็กได้พัฒนาการตามวัย เข้าใจเด็กค่อยๆฝึกฝน
  • การประเมินเพื่อน - แต่งกายสะอาดเรียบร้อย สนุกสนานกับการเรียน ทุกคนต่างสนใจในการเรียนการสอน และตั้งใจฟังอาจารย์ยกตัวอย่างประสบการณ์ต่างๆ มีเสียงหัวเราะตลอดเวลา แต่พอถึงเวลาดูวีดีโอ เพื่อนๆก็ตั้งใจฟังและจดบันทึกเนื้อหา พอทำงานกลุ่มทุกคนก็ช่วยเหลือกันอย่างเต็มที่ ช่วยกันหาข้อมูล ตกแต่งงาน
  • การประเมินอาจารย์ - การแต่งกายสะอาดสุภาพ อาจารย์สอนเนื้อหาละเอียด มีประสบการณ์มาเล่าให้ฟังเยอะแยะทำให้เด็กนึกภาพตามได้ตลอด แสดงบทบาทสมมติทำให้นักศึกษาเกิดเสียงหัวเราะ สนุกสนานในการเรียน ไม่เครียด วีดีโอเหมาะสมกับเนื้อหาในการเรียนดีมาก 
คลิกๆๆ เข้าไปเยี่ยมแฟนเพจกัน...

วันอังคารที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่14

บันทึกอนุทิน
วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี  18 พฤศจิกายน พ.ศ.2557
ครั้งที่ 14 กลุ่มเรียน 101 (วันอังคาร ตอนเที่ยง)
เวลาเข้าเรียน 12:20 – 15:00 น. ห้อง 234 อาคาร 2

     วันนี้ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจาก นักศึกษาชั้นปีที่ 3 เอกการศึกษาปฐมวัย จัดโครงการ ครูปฐมวัยร่วมใจอนุรักษ์สืบทอดความเป็นไทย มีชุดการแสดงทั้งหมด 9 ชุด ซึ่งกลุ่มเรียน 101 มีการแสดงนาฏศิลป์ประยุกต์ เพลง หางเครื่อง และนิทาน

การแสดงชุด นาฏศิลป์ประยุกต์
(เพลง หางเครื่อง)

การแสดง นิทาน

การแสดงชุด ระบำดอกบัว
(น้องๆจากโรงเรียนสาธิต)

การแสดงชุด ระบำเงือก

การแสดงชุด รำขวัญข้าว

การแสดงชุด ระบำสี่ภาค

การแสดงชุด เซิ้งตังหวาย

 การแสดงชุด รำพัดเกาหลี

การแสดงชุด จินตลีลา
(พ่อของแผ่นดิน)

การนำไปประยุกต์ใช้
     การแสดงในแต่ละชุด ท่ารำเราสามารถนำไปสอนเด็กปฐมวัยได้ ประยุกต์ท่าในแบบต่างๆ การนำไปสอนเด็กนั้นเราก็ควรคำนึงถึงความยากง่ายของท่าด้วย ควรสอนท่าที่เด็กสามารถทำได้ไม่ยากเกินไป
การประเมินผล
  • การประเมินตนเอง - วันนี้ในการแสดงนาฏศิลป์ประยุกต์ดิฉันแสดงอย่างเต็มที่และตั้งใจมาก เตรียมตัวมาเป็นอย่างดี ในเรื่องชุดมีคันบ้างเพราะเครื่องประดับเยอะ ไม่ค่อยชอบกระโปรงรู้สึกใส่แล้วดูรุงรัง เกะกะ ตอนเคลื่อนไหวขณะแสดงทำให้กังวลว่าเพื่อนจะเหยียบ รึเราจะเหยียบกระโปรงไหม และห่วงเครื่องประดับบนศีรษะจะหลุดหรือเปล่า ตอนที่แสดงอาจมีตื่นเต้นนิดหน่อยแต่ก็ผ่านพ้นมาด้วยดี แต่เพราะพักผ่อนไม่เพียงพอ ซ้อมการแสดง กลับดึกบ่อย และต้องตื่นเช้าเลยทำให้ไม่สบายช่วงบ่ายๆที่ต้องประชุมสรุปงานโครงการ มีเบื่อๆที่อาจารย์พูดยื้อเยื้อ แต่งานในวันนี้ถือว่าทำเต็มที่ 100 % ค่ะ ให้ความร่วมมือกับเพื่อนๆ
  • การประเมินเพื่อน - การแสดงชุดอื่นๆ เพื่อนๆทำออกมาได้ดีและสวยงามมาก แต่ละชุดก็แตกต่างกันออกไป เพื่อนที่เป็นพิธีกรพูดจาฉะฉาน ออกเสียง ร ล ถูกต้อง เสียงน่าฟัง เพื่อนที่มานั่งดูให้กำลังใจน่ารัก ทุกคนช่วยเหลือกัน ทำให้งานออกมาค่อยข้างดี อาจมีผิดพลาดบ้าง
คลิกๆๆ เข้าไปเยี่ยมแฟนเพจกัน...

วันอังคารที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่13

บันทึกอนุทิน
วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี  11 พฤศจิกายน พ.ศ.2557
ครั้งที่ 13 กลุ่มเรียน 101 (วันอังคาร ตอนเที่ยง)
เวลาเข้าเรียน 12:20 – 15:00 น. ห้อง 234 อาคาร 2

     วันนี้เรียนในหัวข้อ การส่งเสริมพัฒนาการและการปรับพฤติกรรมเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
Mind Map

Down's Syndrome แนวทางการดูแลรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ
     1.ด้านสุขภาพอนามัย
  • แนะนำบิดามารดาให้พาบุตรไปพบแพทย์ตั้งแต่เริ่มแรก
  • ติดตามการรักษาเป็นระยะๆ เพื่อแพทย์จะได้ให้การรักษาและให้คำแนะนำต่างๆ
  • การให้คำแนะนำปรึกษาทางพันธุศาสตร์ การวางแผนครอบครัว ความเสี่ยงในการเกิดซ้ำของโรคในครอบครัวและการวินิจฉัยก่อนคลอด
     2.การส่งเสริมพัฒนาการ
  • เด็กกลุ่มอาการดาวน์สามารถพัฒนาได้ถ้าได้รับการฝึกสอนที่เหมาะสม
  • แนะนำบิดามารดาเรื่องความสำคัญของการส่งเสริมพัฒนาการ วิธีการ ฝึกฝนบุตรที่บ้านอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอเพื่อให้มีพัฒนาการใกล้เคียงกับเด็กทั่วไป
     3.การดำรงชีวิตประจำวัน
  • ฝึกให้ช่วยเหลือตนเองได้มากที่สุด เพื่อให้สามารถไปเรียนและใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้
  • รู้จักควบคุมตนเอง มีสัมพันธภาพกับผู้อื่น
  • ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของสังคมและสามารถใช้บริการต่างๆในสังคมได้
     4.การฟื้นฟูสมรรถภาพ
  • การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ เช่น การฝึกพูด กายภาพบำบัด กิจกรรมบำบัด
  • การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษาโดยจัดทำแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Program : IEP)
  • การฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม เช่น การฝึกทักษะการดำรงชีวิตประจำวัน (Activity of Daily Living Skills) การจดทะเบียนรับรองความพิการ
  • การฟื้นฟูสมรรถภาพทางอาชีพโดยการฝึกอาชีพ
Autistic แนวทางการดูแลรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ
     1.ส่งเสริมความเข้มแข็งครอบครัว
  • ครอบครัวมีบทบาทสำคัญที่สุดในกระบวนการดูแลช่วยเหลือ
  • ไม่ใช่หน้าที่ของใครคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นหน้าที่ของทุกคน
  • เรียนรู้และเข้าใจเกี่ยวกับออทิสติก
  • ทักษะต่างๆของเด็กจะสั่งสมตามประสบการณ์
  • ไม่ต้องกังวลว่าเด็กจะทำไม่ได้หรือทำได้ไม่ดี
  • ค่อยๆพัฒนาวิธีการตามคำชี้แนะจากผู้เชี่ยวชาญ
     2.ส่งเสริมความสามารถของเด็ก
  • ไม่มุ่งแก้ไขเฉพาะความบกพร่องเพียงด้านเดียว
  • มุ่งส่งเสริมความสามารถที่เด็กมีควบคู่ไปด้วย
  • เปิดโอกาสให้เด็กได้ทำบ่อยๆแล้วสอนเพิ่มในเรื่องที่ใกล้เคียงกับสิ่งที่เด็กทำได้
  • เสริมสร้างโอกาสให้เด็กได้เล่นของเล่นที่หลากหลาย
  • ได้ทำกิจกรรมที่หลากหลาย
     3.พฤติกรรมบำบัด
  • ส่งเสริมพฤติกรรมที่เหมาะสมให้คงอยู่ต่อเนื่อง
  • หยุดพฤติกรรมที่เป็นปัญหา
  • สร้างพฤติกรรมใหม่ที่ต้องการ
  • ช่วยเสริมสร้างทักษะด้านภาษา ด้านสังคม และทักษะอื่นๆ
  • ใช้พื้นฐานของทฤษฎีการเรียนรู้
  • การให้แรงเสริม
     4.การส่งเสริมพัฒนาการ
  • ยึดหลักและลำดับขั้นพัฒนาการของเด็กปกติ
  • ควรทำตั้งแต่อายุน้อย โดยต้องทำอย่างเข้มข้น สม่ำเสมอ และต่อเนื่องในระยะเวลาที่นานพอ
  • เหมาะสมตามสภาพปัญหา ความสามารถ และความเร็วในการเรียนรู้ของแต่ละคนที่มีความแตกต่างกัน
  • เน้นในเรื่องการมองหน้าสบตา การมีสมาธิ การฟัง และทำตามคำสั่ง
     5.การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์
  • การแก้ไขการพูด (Speech Therapy)
  • การสื่อความหมายทดแทน (Augmentative and Alternative Communication : AAC) เพื่อใช้ทดแทนการพูดเป็นการชั่วคราว
  • กิจกรรมบำบัด (Occupational Therapy)
     6.การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษา
  • เพิ่มทักษะพื้นฐานด้านสังคม การสื่อสาร และทักษะทางความคิด
  • เกิดผลดีในระยะยาว
  • เน้นการเตรียมความพร้อมเพื่อให้เด็กสามารถใช้ในชีวิตประจำวันจริงๆแทนการฝึกแต่เพียงทักษะทางวิชาการ
  • แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Program : IEP)
  • โรงเรียนการศึกษาพิเศษเฉพาะทาง โรงเรียนเรียนร่วม ห้องเรียนคู่ขนาน
     7.การฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม
  • การฝึกฝนทักษะในชีวิตประจำวัน (Activity of Daily Living Training)
  • การฝึกฝนทักษะทางสังคม (Social Skill Training)
  • การสอนเรื่องราวทางสังคม (Social Story)
     8.การรักษาด้วยยา
  • เพื่อบรรเทาอาการยางอย่างที่เกิดร่วมด้วย
  • เด็กไม่จำเป็นต้องรักษาด้วยยาทุกคน
  • ในปัจจุบันยังไม่พบว่ามียาตัวใดที่ช่วยแก้ไขความบกพร่องด้านการสื่อสารและด้านสังคม
  • เพื่อลดพฤติกรรมไม่มีสมาธิ อยู่ไม่นิ่ง หุนหันพลันแล่น
     9.การบำบัดทางเลือก
  • การสื่อความหมายทดแทน (AAC)
  • ศิลปกรรมบำบัด (Art Therapy)
  • ดนตรีบำบัด (Music Therapy)
  • การฝังเข็ม (Acupuncture)
  • การบำบัดด้วยสัตว์ (Animal Therapy)
     10.พ่อแม่
  • ลูกต้องพัฒนาได้
  • เรารักลูกของเรา ไม่ว่าเขาจะเป็นอย่างไร
  • ถ้าเราไม่รัก แล้วใครจะรัก
  • หยุดไม่ได้
  • ดูแลจิตใจและร่างกายของตนเองให้เข็มแข็ง
  • ไม่กล่าวโทษตนเองหรือคู่สมรส
  • ควรหันหน้าปรึกษากันในครอบครัว
การนำไปประยุกต์ใช้
     นำไปเป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมให้กับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ควรจัดให้ถูกต้องเด็กได้รับพัฒนาการที่ดีเหมาะสมตามวัย หรือนำไปให้คำปรึกษา ให้ความรู้วิธีการเลี้ยงดูให้กับพ่อแม่เด็กที่มีความต้องการพิเศษ
การประเมินผล
  • การประเมินตนเอง - การแต่งกายสะอาดเรียบร้อยถูกระเบียบ เข้าห้องเรียนตรงต่อเวลา ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน บางครั้งอาจคุยบ้าง ชอบที่อาจารย์สอนในรายละเอียดที่ลึกลงไปอีก รู้สึกสนุกและมีความสุขเวลาที่อาจารย์แสดงบทบาทสมมติ เป็นกันเอง
  • การประเมินเพื่อน - แต่งกายสะอาดเรียบร้อย สนุกสนานกับการเรียน ทุกคนต่างสนใจในการเรียนการสอน และตั้งใจฟังอาจารย์ยกตัวอย่างประสบการณ์
  • การประเมินอาจารย์ - การแต่งกายสะอาดสุภาพ อาจารย์สอนเนื้อหาละเอียด มีประสบการณ์มาเล่าให้ฟังเยอะแยะทำให้เด็กนึกภาพตามได้ แสดงบทบาทสมมติทำให้เกิดเสียงหัวเราะ สนุกสนานในการเรียน ไม่เครียด
คลิกๆๆ เข้าไปเยี่ยมแฟนเพจกัน...

วันอังคารที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่12

บันทึกอนุทิน
วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี  4 พฤศจิกายน พ.ศ.2557
ครั้งที่ 12 กลุ่มเรียน 101 (วันอังคาร ตอนเที่ยง)
เวลาเข้าเรียน 12:20 – 15:00 น. ห้อง 234 อาคาร 2

     วันนี้อาจารย์เฉลยข้อสอบทั้งหมด 60 ข้อ ที่ได้สอบไปเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว และอาจารย์อธิบายเนื้อหาแต่ละข้อเพิ่มเติม เพื่อให้นักศึกษาทบทวนความรู้เดิมที่ได้เรียนมาไปด้วย

การนำไปประยุกต์ใช้
     สามารถแยกประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษได้ และจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับพัฒนาการตามวัยของเด็กแต่ละกลุ่ม หรือจัดสิ่งแวดล้อมและกิจกรรมให้เหมาะสมกับเด็กเป็นรายบุคคล เพื่อให้สมองจัดระเบียบข้อมูลที่รับผ่านความรู้สึก ปรับระดับ แยกแยะ ประมวลผลหรือบูรณาการข้อมูลอย่างถูกต้องสมบูรณ์ เช่น
ปัญหาการรับรู้ทางสายตา เด็กสมาธิสั้นควรฝึก
     - ปิดไฟ ใช้ไฟฉายส่องไปที่ฝา ให้เด็กใช้ไฟฉายอีกดวงฉายตามไปที่จุดทีคุณฉาย
     - เปิดไฟหลายสี ทำไฟสีจ้า เป็นไฟนิ่ง ไฟสลัว ไฟกระพริบ ทำที่ละสีหรือทำสลับกันไปมา เปิดไฟสีอ่อน สลับไปมา ทำเป็นไฟจ้า ไฟนิ่ง ไฟสลัวและไฟกระพริบ
     - ให้หาสิ่งของมีสีสันในหญ้า
     - ใช้ลูกแก้วหลายสี หลายลูก กลิ้งในราง ให้เด็กหยิบลูกแก้วตามสีที่คุณบอก
     - เป่าลูกโป่งหลายสีให้ลอยในอากาศ ให้เด็กมองตามลูกโป่งและให้เดาว่าลูกโป่งจะลอยไปทางใด
ปัญหาการได้ยิน เด็กสมาธิสั้นควรฝึก
     - ให้ฟังเสียงในทิศทางต่างๆกันและให้เด็กบอกว่าเสียงดังมาจากด้านใด
     - เล่นเกมทายเสียง ทั้งทำให้ดังและดังแผ่วๆ หรือ ผสมเสียงให้แยกให้ออกว่าเป็นเสียงอะไร
     - เปิดเพลงช้าแล้วให้เดิน เปิดเพลงกำลังดีแล้วให้เตะขาตามจังหวะและเปิดเพลงเร็ว เช่น จังหวะเร็กเก้ ให้เด็กเต้นตามจังหวะ พร้อมตบมือให้เป็นไปตามจังหวะ ลดเสียงและให้เต้นตามจังหวะ
ปัญหาการรับรู้ผ่านกล้ามเนื้อเอ็นข้อต่อ เด็กสมาธิสั้นควรฝึก
     - ให้หิ้ว ลาก ผลัก ดึง ของที่มีน้ำหนัก
     - โหนราว ไต่ราวกลางแจ้ง
     - กระโดดบนที่กระโดดสปริงก์หรือแทมโบลีน คลานบนพื้น ใช้มือตบบอลล์เข้ากำแพง
ปัญหาการเคลื่อนไหวและการทรงตัว เด็กสมาธิสั้นควรฝึก
     - การวิ่งแล้วหมุนตัวกลับไปมา
     - นำเก้าอี้มาวาง 2 ตัว ให้ห่างกันประมาณ 1 เมตร ให้เด็กเดินเป็นเลขแปดและวิ่งเป็นเลขแปด
     - กระโดดเชือก เดินเป็นวงกลม วงรี

การประเมินผล
  • การประเมินตนเอง - การแต่งกายสะอาดเรียบร้อยถูกระเบียบ เข้าห้องเรียนตรงต่อเวลา ในการสอบครั้งนี้ดิฉันทำคะแนนออกมาเป็นที่น่าพอใจในระดับหนึ่ง คิดว่าพอใจในความสามารถเพราะข้อสอบก็ไม่ง่าย และตั้งใจฟังที่อาจารย์เฉลยข้อสอบ ได้รู้ว่าข้อไหนเราทำผิด เพราะอะไรถึงผิด และข้อที่ถูกต้อง พอรู้ว่าข้อไหนที่ตัวเองตอบผิดรู้สึกเสียดายมาก บางข้ออ่านโจทย์ผิดกับข้อสอบข้อแรกๆไม่ได้อ่านมา อ่านแต่เด็กที่มีความบกพร่อง รู้เลยว่าตัวเองคงทำผิดช่วงนั้นเยอะ แต่ก็ทบทวนไปด้วยตั้งใจอ่านใหม่และจะพยายามทำให้ดีขึ้นในการสอบครั้งต่อไปจะไม่ประมาท
  • การประเมินเพื่อน - สนุกสนานกับการเรียน ทุกคนต่างสนใจในการฟังคำตอบที่ถูกในแต่ละข้อว่าตัวเองทำผิดข้อไหน เพราะอะไรถึงไม่ใช่ เพื่อนๆเกือบทั้งห้องทำคะแนนได้ดีทุกคน บางคนก็ต้องพยายามถีบตัวเองให้ดีขึ้น คนที่ได้คะแนนสูงก็อย่าชะล่าใจ แต่ในภาพรวมถือว่าโอเค
  • การประเมินอาจารย์ - การแต่งกายสะอาดสุภาพ อาจารย์อธิบายความรู้เพิ่มเติมในแต่ละข้อทำให้เข้าใจมากขึ้น นักศึกษาได้ทบทวนความรู้เดิมไปด้วย และรู้ว่าส่วนมากที่ตอบผิดเพราะอะไร ข้อสอบบางข้อพอรู้ว่าคำตอบอาจารย์แต่งขึ้นมาเอง เซ็งเลย และได้เล่าประสบการณ์ของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ พร้อมแสดงบทบาทสมมติได้เหมือนจริงทำให้มองเห็นภาพ อาจารย์พูดเพราะ น่ารัก น่าใส ยิ้มแย้มตลอดเวลา ทำให้บรรยากาศในห้องเรียนน่าเรียน ไม่เครียด เป็นกันเองกับนักศึกษา มีความสุขที่เรียน
ความรู้เพิ่มเติม : คลิ๊ก , คลิ๊ก


                    คลิกๆๆ เข้าไปเยี่ยมแฟนเพจกัน...

วันอังคารที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุุทินครั้งที่11

บันทึกอนุทิน
วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี  28 ตุลาคม พ.ศ.2557
ครั้งที่ 11 กลุ่มเรียน 101 (วันอังคาร ตอนเที่ยง)
เวลาเข้าเรียน 12:20 – 15:00 น. ห้อง 234 อาคาร 2

     วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์สอบกลางภาค วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

วันอังคารที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่10

บันทึกอนุทิน
วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี  21 ตุลาคม พ.ศ.2557
ครั้งที่ 10 กลุ่มเรียน 101 (วันอังคาร ตอนเที่ยง)
เวลาเข้าเรียน 12:20 – 15:00 น. ห้อง 234 อาคาร 2

     วันนี้อาจารย์สอนต่อในหัวข้อ ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ซึ่งสัปดาห์ที่แล้วสอนถึงเรื่อง เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้เด็กออทิสติก วันนี้สอนต่อในเรื่อง เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ และเด็กพิการซ้อน

สรุปเป็น Mind Map
ข้อมูลเพิ่มเติม : คลิ๊ก , คลิ๊ก

การนำไปประยุกต์ใช้
     รู้สาเหตุของเด็กแต่ละกลุ่มเป็นอย่างไร วิธีการสอนควรเป็นแบบไหน สามารถนำไปเป็นแนวความรู้ในการเรียนการสอนของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ เวลาจัดกิจกรรมหรือช่วงการเรียนควรปรับใช้การสอนให้ตรงกับพัฒนาการตามวัยของเด็กแต่ละกลุ่ม เพื่อที่เขาจะได้พัฒนาการดียิ่งขึ้นอย่างเหมาะสมตามวัย การดูแลเอาใจใส่เขาให้มากขึ้นให้ความรัก

การประเมินผล
  • การประเมินตนเอง - การแต่งกายสะอาดเรียบร้อยถูกระเบียบ เข้าห้องเรียนตรงต่อเวลา
  • การประเมินเพื่อน - สนุกสนานในการเรียนการสอน
  • การประเมินอาจารย์ - การแต่งกายสะอาดสุภาพ เล่าประสบการณ์ของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ พร้อมแสดงบทบาทสมมติได้เหมือนจริงทำให้มองเห็นภาพ และมีวีดีโอมาให้ดูเหมาะสมเข้าใจการดูแลเด็กสมาธิสั้น
คลิกๆๆ เข้าไปเยี่ยมแฟนเพจกัน...

วันอังคารที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่9

บันทึกอนุทิน
วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี  14 ตุลาคม พ.ศ.2557
ครั้งที่ 9 กลุ่มเรียน 101 (วันอังคาร ตอนเที่ยง)
เวลาเข้าเรียน 12:20 – 15:00 น. ห้อง 234 อาคาร 2

     วันนี้อาจารย์สอนต่อในหัวข้อ ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ซึ่งสัปดาห์ที่แล้วสอนถึงเรื่อง เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ, เด็กที่บกพร่องทางการพูดและภาษา วันนี้สอนต่อในเรื่อง เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ และเด็กออทิสติก

สรุปเป็น Mind Map

ข้อมูลเพิ่มเติม : คลิ๊ก , คลิ๊ก

การนำไปประยุกต์ใช้
     รู้สาเหตุของเด็กแต่ละกลุ่มเป็นอย่างไร วิธีการสอนควรเป็นแบบไหน สามารถนำไปเป็นแนวความรู้ในการเรียนการสอนของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ เวลาจัดกิจกรรมหรือช่วงการเรียนควรปรับใช้การสอนให้ตรงกับพัฒนาการตามวัยของเด็กแต่ละกลุ่ม เพื่อที่เขาจะได้พัฒนาการดียิ่งขึ้นอย่างเหมาะสมตามวัย

การประเมินผล
  • การประเมินตนเอง - การแต่งกายสะอาดเรียบร้อยถูกระเบียบ เข้าห้องเรียนตรงต่อเวลา
  • การประเมินเพื่อน - สนุกสนานในการเรียนการสอน
  • การประเมินอาจารย์ - การแต่งกายสะอาดสุภาพ เล่าประสบการณ์ของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ พร้อมแสดงบทบาทสมมติได้เหมือนจริงทำให้มองเห็นภาพ
คลิกๆๆ เข้าไปเยี่ยมแฟนเพจกัน...

วันอังคารที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่8

บันทึกอนุทิน
วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี  7 ตุลาคม พ.ศ.2557
ครั้งที่ 8 กลุ่มเรียน 101 (วันอังคาร ตอนเที่ยง)
เวลาเข้าเรียน 12:20 – 15:00 น. ห้อง 234 อาคาร 2

     วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากเป็นวันสอบกลางภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

วันอังคารที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่7

บันทึกอนุทิน
วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี  30 กันยายน พ.ศ.2557
ครั้งที่ 7 กลุ่มเรียน 101 (วันอังคาร ตอนเที่ยง)
เวลาเข้าเรียน 12:20 – 15:00 น. ห้อง 234 อาคาร 2

     วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ให้นึกศึกษาเข้าร่วมโครงการ "จิตอาสาตามรอยแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง" โดย คุณทฤษฎี สหวงษ์ เป็นวิทยากร สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม วันอังคารที่ 30 กันยายน 2557 ณ ห้องประชุมจันทร์จรัส สำนักงานอธิการบดี



ทฤษฎี สหวงษ์

World Animal Protection Thailand

รายการทูไนท์โชว์

การประเมินผล
  • การประเมินตนเอง - การแต่งกายสะอาดเรียบร้อย ฟังบรรยายด้วยความสนุกสนาน
  • การประเมินเพื่อน - สนุกสนานในการฟังบรรยาย
  • การประเมินวิทยากร - การแต่งกายสะอาดสุภาพ พูดคุยเป็นกันเอง ให้ความรู้ที่ฟังเข้าใจง่ายสนุกสนาน ไม่น่าเบื่อ
คลิกๆๆ เข้าไปเยี่ยมแฟนเพจกัน...

วันอังคารที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่6

บันทึกอนุทิน
วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี  23 กันยายน พ.ศ.2557
ครั้งที่ 6 กลุ่มเรียน 101 (วันอังคาร ตอนเที่ยง)
เวลาเข้าเรียน 12:20 – 15:00 น. ห้อง 234 อาคาร 2

     วันนี้อาจารย์สอนต่อในเรื่อง ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ซึ่งสัปดาห์ที่แล้วสอนถึงเรื่อง เด็กที่บกพร่องทางการเห็น
สรุป Mind Map
ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ(ต่อ)

ความรู้เพิ่มเติม
     2.1.4.เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ(Children with Physical and Health Impairments)
  • เด็กที่มีอวัยวะไม่สมส่วน
  • อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งหายไป
  • เจ็บป่วยเรืื้อรังรุนแรง
  • มีปัญหาทาวระบบประสาท
  • มีความลำบากในการเคลื่อนไหว
โรคลมชัก(Epilepsy)
  • เป็นลักษณะอาการที่เกิดเนื่องมาจากความผิดปกติของระบบประสมอง
  • มีกระแสไฟฟ้าที่ผิดปกติและมากเกินปล่อยออกมาจากเซลล์สมองพร้อมกัน
1.การชักในช่วงเวลาสั้นๆ(Petit Mal)
  • อาการเหม่อนิ่งเป็นเวลา 5-10 วินาที
  • มีการกระพริบตาหรืออาจมีเคี้ยวปาก
  • เมื่อเกิดอาการชักเด็กจะหยุดชะงักในท่าก่อนชัก
  • เด็กจะนั่งเฉย หรือเด็กอาจจะตัวสั่นเล็กน้อย
2.การชักแบบรุนแรง(Grand Mal)
  • เมื่อเกิดอาการชัก เด็กจะส่งเสียง หมดความรู้สึก ล้มลง กล้ามเนื้อเกร็ง เกิดขึ้นราว 2-5 นาที จากนั้นจะหายและนอนหลับไปชั่วครู่
3.อาการชักแบบ(Partial Complex)
  • มีอาการประมาณไม่เกิน 3 นาที
  • เหม่อนิ่ง
  • เหมือนรู้สึกตัวแต่ไม่รับรู้และไม่ตอบสนองต่อคำพูด
  • หลังชักอาจจำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ได้ และต้องการนอนพัก
4.อาการไม่รู้สึกตัว(Focal Partial)
  • เป็นอาการที่เกิดขึ้นในระยะสั้น เด็กไม่รู้สึกตัว อาจทำอะไรบางอย่างโดยที่ตัวเองไม่รู้ เช่น ร้องเพลง ดึงเสื้อผ้า เดินเหม่อลอย แต่ไม่มีอาการชัก
5.ลมบ้าหมู(Grand Mal)
  • เมื่อเกิดอาการชักจะทำให้หมดสติ และหมดความรู้สึกในขณะชักกล้ามเนื้อเกร็งหรือแขนขากระตุก กัดฟัน กัดลิ้น
การปฐมพยาบาลขั้นพื้นฐานในกรณีเด็กมีอาการชัก
ซี.พี. (Cerebral Palsy) คลิ๊ก
  • การเป็นอัมพาตเนื่องจากระบบประสาทสมองพิการ หรือเป็นผลมาจากสมองที่กำลังพัฒนาถูกทำลายก่อนคลอด ระหว่างคลอดหรือหลังคลอด
  • การเคลื่อนไหว การพูด พัฒนาการล่าช้า เด็กซีพี มีความบกพร่องที่เกิดจากส่วนต่างๆของสมองแตกต่างกัน
1.กลุ่มแข็งแกร่ง(Spastic)
  • Spastic Hemiplegia อัมพาตครึ่งซีก
  • Spastic Diplegia อัมพาตครึ่งท่อนบน
  • Spastic Paraplegia อัมพาตครึ่งท่อนล่าง
  • Spastic Quadriplegia อัมพาตทั้งตัว
2.กลุ่มที่มีการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นเอง(Athetoid, Ataxia)
  • Athetoid อาการขยุกขยิกช้าๆ หรือเคลื่อนไหวเร็วๆที่เท้า แขน มือ หรือที่ใบหน้าของเด็กบางรายอาจมีคอเอียงปากเบี้ยวร่วมด้วย
  • Ataxia มีความผิดปกติในการทรงตัวของร่างกาย กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน
3.กลุ่มอาการแบบผสม(Mixed)
- กล้ามเนื้ออ่อนแรง(Muscular Distrophy)
  • เกิดจากเส้นประสาทสมองที่ควบคุมกล้ามเนื้อส่วนนั้นๆเสื่อมสลายตัว
  • เดินไม่ได้ นั่งไม่ได้ นอนอยู่กับที่
  • จะมีความพิการซ้อนในระยะหลัง คือ ความจำแย่ลง สติปัญญาเสื่อม
- โรคทางระบบกระดูกกล้ามเนื้อ(Orthopedic)
     ระบบกระดูกกล้ามเนื้อพิการแต่กำเนิด เช่น เท้าปุก (Clup Foot) กระดูกข้อสะโพกเคลื่อน อัมพาตครึ่งท่อนเนื่องจากกระดูกไขสันหลังส่วนล่างไม่ติด (Spina Bifida)
  • ระบบกระดูกกล้ามเนื้อพิการด้วยโรคติดเชื้อ (Infection) เช่น วัณโรค กระดูกหลังโกง กระดูกผุ เป็นแผลเรื้อรังมีหนองเศษกระดูกผุ
  • กระดูกหัก ข้อเคลื่อน ข้ออักเสบ
- โปลิโอ(Poliomyelitis)
  • มีอาการกล้ามเนื้อลีบเล็ก แต่ไม่มีผลกระทบต่อสติปัญญา
  • ยืนไม่ได้ หรืออาจปรับสภาพให้ยืนเดินได้ด้วยอุปกรณ์เสริม
- โรคระบบทางเดินหายใจ
- โรคเบาหวาน(Diabetes Mellitus)
- โรคหัวใจ(Cardiac Conditions)
- โรคมะเร็ง(Cancer)
- เลือดไหลไม่หยุด(Hemophilia)
- แขนขาด้วนแต่กำเนิด
ลักษณะของเด็กบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ
  • มีปัญหาเกี่ยวกับการทรงตัว
  • ท่าเดินคล้ายกรรไกร
  • เดินขากะเผลก หรืออึดอาดเชื่องช้า
  • ไอเสียงแห้งบ่อยๆ
  • มักบ่นเจ็บหน้าอก บ่นปวดหลัง
  • หน้าแดงง่าย มีสีเขียวจางบนแก้ม ริมฝีปากหรือปลายนิ้ว
  • หกล้มบ่อยๆ
  • หิวและกระหายน้ำอย่างเกินกว่าเหตุ
     2.1.5.เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา(Children with Speech and Language Disorders)
เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูด
     หมายถึง เด็กที่มีความบกพร่องซึ่งเกิดจากการพูดผิดปกติในด้านความชัดเจนในการปรับปรุงแต่งระดับคุณภาพของเสียง จังหวะและขั้นตอนของเสียงพูด
1.ความบกพร่องในด้านปรุงเสียง(Articulator Disorders)
  • เสียงบางส่วนของคำขาดหายไป "ความ" เป็น "คาม"
  • ออกเสียงของตัวอื่นแทนตัวที่ถูกต้อง "กิน" เป็น จิน "กวาด" เป็น ฟาด
  • เพิ่มเสียงที่ไม่ใช่เสียงที่ถูกต้องลงไปด้วย "หกล้ม" เป็น "หก-กะ-ล้ม"
  • เสียงเพี้ยนหรือแปล่ง "แล้ว" เป็น "แล่ว"
2.ความบกพร่องของจังหวะและขั้นตอนของเสียงพูด(Speech Flow Disorders)
  • พูดไม่ถูกตามลำดับขั้นตอน ไม่เป็นไปตามโครงสร้างของภาษา
  • การเว้นวรรคตอนไม่ถูกต้อง
  • อัตราการพูดเร็วหรือช้าเกินไป
  • จังหวะของเสียงพูดผิดปกติ
  • เสียงพูดขาดความต่อเนื่อง สละสลวย
3.ความบกพร่องของเสียงพูด(Voice Disorders)
  • ความบกพร่องของระดับเสียง
  • เสียงดังหรือค่อยเกินไป
  • คุณภาพของเสียงไม่ดี
ความบกพร่องทางภาษา
     หมายถึง การขาดความสามารถที่จะเข้าใจความหมายของคำพูด และ/หรือไม่สามารถแสดงความคิดออกมาเป็นถ้อนคำได้
1.การพัฒนาการทางภาษาช้ากว่าวัย(Delayed Language)
  • มีความลำบากในการใช้ภาษา
  • มีความผิดปกติของไวยากรณ์และโครงสร้างของประโยค
  • ไม่สามารถสร้างประโยคได้
  • มีความบกพร่องทางเชาว์ปัญญา อารมณ์ สมองผิดปกติ
  • ภาษาที่ใช้เป็นภาษาห้วนๆ
2.ความผิดปกติทางการพูดและภาษาอันเนื่องมาจากพยาธิสภาพที่สมอง โดยทั่วไปเรียกว่า Dysphasia หรือ Aphasia
  • อ่านไม่ออก (Alexia)
  • เขียนไม่ได้ (Agraphia)
  • สะกดคำไม่ได้
  • ใช้ภาษาสับสนยุ่งเหยิง
  • จำคำหรือประโยคไม่ได้
  • ไม่เข้าใจคำสั่ง
  • พูดตามหรือบอกชื่อสิ่งของไม่ได้
Gerstmann's Syndrome
  • ไม่รู้ชื่อนิ้ว
  • ไม่รู้ซ้ายขวา
  • คำนวณไม่ได้
  • เขียนไม่ได้
  • อ่านไม่ออก
ลักษณะของเด็กบกพร่องทางการพูดและภาษา
  • ในวัยทารกมักเงียบผิดธรรมชาติ ร้องไห้เบาๆและอ่อนแรง
  • ไม่อ้อแอ้ภายในอายุ 10 เดือน
  • ไม่พูดภายในอายุ 2 ขวบ
  • หลัง 3 ขวบแล้วภาษาพูดของเด็กก็ยังฟังเข้าใจยาก
  • ออกเสียงตัวสะกดไม่ได้
  • หลัง 5 ขวบเด็กยังคงใช้ภาษาที่เป็นประโยคไม่สมบูรณ์ในระดับประถมศึกษา
  • มีปัญหาในการสื่อความหมาย พูดตะกุกตะกัก
  • ใช้ท่าทางในการสื่อความหมาย
การนำไปประยุกต์ใช้
     อนาคตออกฝึกสอนเมื่อเจอเด็กที่มีความต้องการพิเศษเราสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ในการสอน มีวิธีในการรับมือ

การประเมินผล
  • การประเมินตนเอง - การแต่งกายสะอาดเรียบร้อยถูกระเบียบ เข้าห้องเรียนตรงต่อเวลา
  • การประเมินเพื่อน - สนุกสนานในการเรียนการสอน
  • การประเมินอาจารย์ - การแต่งกายสะอาดสุภาพ เข้าสอนตรงต่อเวลา แสดงบทบาทสมมติได้เหมือนมองเห็นภาพ
คลิกๆๆ เข้าไปเยี่ยมแฟนเพจกัน...

วันอังคารที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่5

บันทึกอนุทิน
วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี  16 กันยายน พ.ศ.2557
ครั้งที่ 5 กลุ่มเรียน 101 (วันอังคาร ตอนเที่ยง)
เวลาเข้าเรียน 12:20 – 15:00 น. ห้อง 234 อาคาร 2

     อาจารย์อธิบายความรู้เพิ่มเติมต่อจากการนำเสนอสัปดาห์ที่ผ่านมาเกี่ยวกับประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ แบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ กลุ่มเด็กปัญญาเลิศ และกลุ่มเด็กที่มีลักษณะทางความบกพร่อง
สรุป Mind Map
ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

ความรู้เพิ่มเติม
1.กลุ่มเด็กที่มีลักษณะทางความสามารถสูง มีความเป็นเลิศทางสติปัญญาเรียกโดยทั่วๆไปว่า "เด็กปัญญาเลิศ"
เด็กปัญญาเลิศ(Gifted Child) คลิ๊ก
  • เด็กที่มีความสามารถทางสติปัญญา
  • มีความถนัดเฉพาะทางสูงกว่าเด็กในวัยเดียวกัน
ลักษณะของเด็กปัญญาเลิศ
  • พัฒนาการทางร่างกายและจิตใจสูงกว่าเด็กในวัยเดียวกัน
  • เรียนรู้สิ่งต่างๆได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย
  • อยากรู้อยากเห็นอย่างจริงจัง ชอบซักถาม
  • มีเหตุผลในการแก้ปัญหา การใช้สามัญสำนึก
  • จดจำได้รวดเร็วและแม่นยำ
  • มีความรู้ ใช้คำศัพท์เกินวัย
  • มีความคิดริเริ่ม มีวิธีการคิดและแนวคิดแปลกๆ
  • เป็นคนตื่นตัว เฉียบแหลม ว่องไว และช่างสังเกต
  • มีแรงจูงใจ และมีความมานะบากบั่น มีความจริงจังในการทำงาน
  • ชอบแสวงหาสิ่งท้าทายความคิดความอ่าน
เด็กฉลาด                                                   Gifted
- ตอบคำถาม                                                           - ตั้งคำถาม
- สนใจเรื่องที่ครูสอน                                                - เรียนรู้สิ่งที่สนใจ
- ชอบอยู่กับเด็กอายุเท่ากัน                                       - ชอบอยู่กับผู้ใหญ่หรือเด็กที่โตกว่า
- ความจำดี                                                              - อยากรู้อยากเห็น ชอบคาดคะเน
- เรียนรู้ง่ายและเร็ว                                                   - เบื่อง่าย
- เป็นผู้ฟังที่ดี                                                           - ชอบเล่า
- พอใจในผลงานของตน                                           - ติเตียนผลงานของตน
2.กลุ่มเด็กที่มีลักษณะทางความบกพร่อง
     2.1.เด็กที่บกพร่องทางสติปัญญา
     2.2.เด็กที่บกพร่องทางการได้ยิน
     2.3.เด็กที่บกพร่องทางเห็น
     2.4.เด็กที่บกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ
     2.5.เด็กที่บกพร่องทางการพูดและภาษา
     2.6.เด็กที่บกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
     2.7.เด็กที่บกพร่องทางการเรียนรู้
     2.8.เด็กออทิสติก
     2.9.เด็กพิการซ้อน

     2.1.1เด็กที่บกพร่องทางสติปัญญา(Children with Intellectual Disabilities)
     หมายถึง เด็กที่มีระดับสติปัญญาหรือเชาว์ปัญญาต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ยเมื่อเทียบเด็กในระดับอายุเดียวกัน
     มี 2 กลุ่ม คือ เด็กเรียนช้า และเด็กปัญญาอ่อน
เด็กเรียนช้า
  • สามารถเรียนในชั้นเรียนปกติได้
  • เด็กที่มีความสามารถในการเรียนล่าช้ากว่าเด็กปกติ
  • ขาดทักษะในการเรียนรู้
  • มีความบกพร่องทางสติปัญญาเพียงเล็กน้อย
  • มีระดับสติปัญญา (IQ) ประมาณ 71-90
สาเหตุของการเรียนช้า
    1.ภายนอก
  • เศรษฐกิจของครอบครัว
  • การสร้างเสริมประสบการณ์ให้แก่เด็ก
  • สภาวะทางด้านอารมณ์ของคนในครอบครัว
  • การเข้าเรียนไม่สม่ำเสมอ
  • วิธีการสอนไม่มีประสิทธิภาพ
    2.ภายใน
  • พัฒนาการช้า
  • การเจ็บป่วย
เด็กปัญญาอ่อน
  • ระดับสติปัญญาต่ำ
  • พัฒนาการล่าช้าไม่เหมาะสมกับวัย
  • มีพฤติกรรมการปรับตนบกพร่อง
  • อาการแสดงก่อนอายุ 18
พฤติกรรมการปรับตน
- การสื่อความหมาย                                     - การควบคุมตนเอง
- การดูแลตนเอง                                          - การนำความรู้มาใช้ในชีวิตประจำวัน
- การดำรงชีวิตภายในบ้าน                            - การใช้เวลาว่าง
- การปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นในสังคม                   - การทำงาน
- การใช้แหล่งทรัพยากรในชุมชน                  - การมีสุขอนามัยและความปลอดภัยเบื้องต้น
เด็กปัญญาอ่อนแบ่งตามระดับสติปัญญา (IQ) ได้ 4 กลุ่ม
     1.เด็กปัญญาอ่อนขนาดหนักมาก IQ ต่ำกว่า 20
  • ไม่สามารถเรียนรู้ทักษะด้านต่างๆได้เลย
  • ต้องการเฉพาะการดูแลรักษาพยาบาลเท่านั้น
     2.เด็กปัญญาอ่อนขนาดหนัก IQ 20-34
  • ไม่สามารถเรียนได้ ต้องการเฉพาะการฝึกหัดการช่วยเหลือตัวเองในกิจวัตรประจำวันเบื้องต้นง่ายๆ
  • กลุ่มนี้เรียกโดยทั่วไปว่า C.M.R. (Custodial Mental Retardation)
     3.เด็กปัญญาอ่อนขนาดปานกลาง IQ 35-49
  • พอที่จะฝึกอบรมและเรียนทักษะเบื้องต้นง่ายๆได้
  • สามารถฝึกอาชีพ หรือทำงานง่ายๆที่ไม่ต้องใช้ความละเอียดลออได้
  • เรียกโดยทั่วไปว่า T.M.R (Trainable Mentally Retarded)
     4.เด็กปัญญาอ่อนขนาดน้อย IQ 50-70
  • เรียนในระดับประถมศึกษาได้
  • สามารถฝึกอาชีพและงานง่ายๆได้
  • เรียกโดยทั่วๆไปว่า E.M.R (Educable Mentally Retarded)
ลักษณะของเด็กที่บกพร่องทางสติปัญญา
  • ไม่พูด หรือพูดได้ไม่สมวัย
  • ช่วงความสนใจสั้น วอกแวก
  • ความคิด และอารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย รอคอยไม่ได้
  • ทำงานช้า
  • รุนแรง ไม่มีเหตุผล
  • อวัยวะบางส่วนมีรูปร่างผิดปกติ กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน
  • ช่วยตนเองได้น้อยกว่าเด็กในวัยเดียวกัน
ดาวน์ซินโดรม(Down Syndrome)
สาเหตุ
  • ความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 21
  • ที่พบบ่อยคือโครโมโซมคู่ที่ 21 เกินมา 1 แท่ง (Trisomy 21)
อาการ
  • ศีรษะเล็กและแบน คอสั้น
  • หน้าแบน ดั้งจมูกแบน
  • ตาเฉียงขึ้น ปากเล็ก
  • ใบหูเล็กและอยู่ต่ำ รูหูส่วนนอกจะตีบกว่าปกติ
  • เพดานปากโค้งนูน ขากรรไกรบนไม่เจริญเติบโต
  • ช่องปากแคบ ลิ้นยื่น ฟันขึ้นช้าและไม่เป็นระเบียบ
  • มือแบนกว้าง นิ้วมือสั้น
  • เส้นลายมือตัดขวาง นิ้วก้อยโค้งงอ
  • ช่องระหว่างนิ้วเท้าที่ 1 และ 2 กว้าง
  • มีความผิดปกติในระบบต่างๆของร่างกาย
  • บกพร่องทางสติปัญญาระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง
  • อารมณ์ดีเลี้ยงง่าย ร่าเริง เป็นมิตร
  • มีปัญหาในการใช้ภาษาและการพูด
  • อวัยวะเพศมักเจริญเติบโตไม่เต็มที่ทั้งในชายและหญิง
การตรวจวินิจฉัยก่อนคลอดกลุ่มอาการดาวน์
  • การเจาะเลือดของมารดาในระหว่างที่ตั้งครรภ์
  • อัลตราซาวด์
  • การตัดชิ้นเนื้อรก
  • การเจาะน้ำคร่ำ
     2.1.2.เด็กที่บกพร่องทางการได้ยิน(Children with Hearing Impaired)
     หมายถึง เด็กที่มีความบกพร่อง หรือสูญเสียการได้ยินเป็นเหตุให้การรับฟังเสียงต่างๆได้ไม่ชัดเจน มี 2 ประเภท คือ เด็กหูตึง และเด็กหูหนวก
เด็กหูตึง หมายถึง เด็กที่สูญเสียการได้ยิน แต่สามารถรับข้อมูลได้โดยใช้เครื่องช่วยฟัง จำแนกกลุ่มย่อยได้ 4 กลุ่ม
     1.เด็กหูตึงระดับน้อย ได้ยินตั้งแต่ 26-40 dB
  • เด็กจะมีปัญหาในการรับฟังเสียงเบาๆเช่น เสียงกระซิบหรือเสียงจากที่ไกลๆ
     2.เด็กหูตึงระดับปานกลาง ได้ยินตั้งแต่ 41-55 dB
  • เด็กจะมีปัญหาในการรับฟังเสียงพูดคุยที่ดังในระดับปกติ ในระยะห่าง 3-5 ฟุต และไม่เห็นหน้าผู้พูด
  • จะไม่ได้ยิน ได้ยินไม่ชัด จับใจความไม่ได้
  • มีปัญหาในการพูดเล็กน้อย เช่น พูดไม่ชัด ออกเสียงเพี้ยน พูดเสียงเบา หรือเสียงผิดปกติ
     3.เด็กหูตึงระดับมาก ได้ยินตั้งแต่ 56-70 dB
  • เด็กจะมีปัญหาในการรับฟังและเข้าใจคำพูด
  • เมื่อพูดคุยกันด้วยเสียงดังเต็มที่ก็ยังไม่ได้ยิน
  • มีปัญหาในการรับฟังเสียงหลายเสียงพร้อมกัน
  • มีพัฒนาการทางภาษาและการพูดช้ากว่าปกติ
  • พูดไม่ชัด เสียงเพี้ยน บางคนไม่พูด
     4.เด็กหูตึงระดับรุนแรง ได้ยินตั้งแต่ 71-90 dB
  • เด็กจะมีปัญหาในนการรับฟังเสียงและการเข้าใจคำพูดอย่างมาก
  • ได้ยินเฉพาะเสียงที่ดังใกล้หูในระยะ 1 ฟุต
  • การพูดคุยด้วยต้องตะโกนหรือใช้เครื่องขยายเสียง
  • เด็กจะมีปัญหาในการแยกเสียง
  • เด็กมักพูดไม่ชัดและมีเสียงผิดปกติ บางคนไม่พูด
เด็กหูหนวก
  • เด็กที่สูญเสียการได้ยินมากถึงขนาดที่ทำให้หมดโอกาสที่จะเข้าใจภาษาพูดจากการได้ยิน
  • เครื่องช่วยฟังไม่สามารถช่วยได้
  • ไม่สามารถเข้าใจหรือใช้ภาษาพูดได้
  • ระดับการได้ยินตั้งแต่ 91 dB ขั้นไป
ลักษณะของเด็กที่บกพร่องทางการได้ยิน
  • ไม่ตอบสนองเสียงพูด เสียงดนตรี มักตะแคงหูฟัง
  • ไม่พูด มักแสดงท่าทาง
  • พูดไม่ถูกหลักไวยากรณ์
  • พูดด้วยเสียงแปลก มักเปล่งเสียงสูง
  • พูดด้วยเสียงต่ำหรือด้วยเสียงที่ดังเกินความจำเป็น
  • เวลาฟังมักจะมองปากของผู้พูด หรือจ้องหน้าผู้พูด
  • รู้สึกไวต่อการสั่นสะเทือน และการเคลื่อนไหวรอบตัว
  • มักทำหน้าที่เด๋อเมื่อมีการพูดด้วย
     2.1.3.เด็กที่บกพร่องทางการเห็น(Child with Visual Impairments)
  • เด็กที่มองไม่เห็นหรือพอเห็นแสงเห็นเลือนราง
  • มีความบกพร่องทางสายตาทั้งสองข้าง
  • สามารถเห็นได้ไม่ถึง 1/10 ของคนสายตาปกติ
  • มีลานสายตากว้างไม่เกิน 30 องศา
     จำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ เด็กตาบอด และเด็กตาบอดไม่สนิท
เด็กตาบอด
  • เด็กที่ไม่สามารถมองเห็นได้เลย หรือมองเห็นบ้าง
  • ต้องใช้ประสาทสัมผัสอื่นในการเรียนรู้
  • มีสายตาข้างดีมองเห็นได้ในระยะ 6/60 , 20/200 ลงมาจนถึงบอดสนิท
  • มีลานสายตาโดยเฉลี่ยอย่างสูงสุดแคบกว่า 5 องศา
เด็กตาบอดไม่สนิท
  • เด็กที่มีความบกพร่องทางสายตา
  • สามารถมองเห็นบ้างแต่ไม่เท่ากับเด็กปกติ
  • เมื่อทดสอบสายตาข้างดีจะอยู่ในระดับ 6/18 , 20/60 , 6/60 , 20/200 หรือน้อยกว่านั้น
  • มีลานสายตาโดยเฉลี่ยอย่างสูงสุดกว้างไม่เกิน 30 องศา
Snellen Chart & Near Card
ลักษณะของเด็กบกพร่องทางการเห็น
  • เดินงุ่มง่าม ชนและสะดุดวัตถุ
  • มองเห็นสีผิดไปจากปกติ
  • มักบ่นว่าปวดศีรษะ คลื่นไส้ ตาลาย คันตา
  • ก้มศีรษะชิดกับงาน หรือของเล่นที่วางอยู่ตรงหน้า
  • เพ่งตา หรี่ตา หรือปิดตาข้างหนึ่งเมื่อใช้สายตา
  • ตาและมือไม่สัมพันธ์กัน
  • มีความลำบากในการจำ และแยกแยะสิ่งที่เป็นรูปร่างทางเรขาคณิต
การนำไปประยุกต์ใช้
     อนาคตออกฝึกสอนเมื่อเจอเด็กที่มีความต้องการพิเศษเราสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ในการสอน มีวิธีในการรับมือ

การประเมินผล
  • การประเมินตนเอง - การแต่งกายสะอาดเรียบร้อยถูกระเบียบ เข้าห้องเรียนตรงต่อเวลา
  • การประเมินเพื่อน - สนุกสนานในการเรียนการสอน
  • การประเมินอาจารย์ - การแต่งกายสะอาดสุภาพ เข้าสอนตรงต่อเวลา และอธิบายการสอนอย่างละเอียด สนุกสนาน
คลิกๆๆ เข้าไปเยี่ยมแฟนเพจกัน...

วันอังคารที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่4

บันทึกอนุทิน
วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี  9 กันยายน พ.ศ.2557
ครั้งที่ 4 กลุ่มเรียน 101 (วันอังคาร ตอนเที่ยง)
เวลาเข้าเรียน 12:20 – 15:00 น. ห้อง 234 อาคาร 2

     วันนี้นำเสนอโรคที่เกี่ยวกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ซึ่งกลุ่มดิฉันได้หัวข้อเรื่อง เด็กดาวน์ซินโดรม (Down’s syndrome หรือ Down syndrome)
สรุป Mind Map
เด็กที่มีความต้องการพิเศษ

แบบประเมินการนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน
            
รายการประเมิน
1.ความรู้ที่ได้รับจากการนำเสนอ
2.รูปแบบการนำเสนอมีความน่าสนใจ
3.ความคิดสร้างสรรค์
ระดับคะแนน
- 3 คะแนน
- 2 คะแนน
- 1 คะแนน

ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
เด็กดาวน์ซินโดรม

     โรคดาวน์ซินโดรม (Down’s syndrome หรือ Down syndrome) หรือที่มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า กลุ่มอาการดาวน์ คือการเกิดความผิดปกติของสารพันธุกรรมที่เป็นมาตั้งแต่กำเนิด และเป็นโรคไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้เนื่องจากสาเหตุของโรคนั้นเกิดขึ้นจากความผิดปกติภายในโครโมโซม โดยชื่อของโรคนั้นตั้งตามชื่อของของแพทย์ชาวอังกฤษชื่อ John Lang don Down ซึ่งเป็นแพทย์คนแรกที่ได้อธิบายอาการของโรคไว้เมื่อปี ค.ศ. 1866 แต่ในปี ค.ศ. 1959 นายแพทย์ Jerome Lejeune นั้นเป็นคนค้นพบว่าสาเหตุของโรคเกิดจากสารพันธุกรรม และปัจจุบันนั้นก็ยังไม่มีวิธีป้องกันการเกิดโรคดาวน์ซินโดรมได้
ข้อมูลเพิ่มเติม : คลิ๊ก


เด็กซีพี (CP : Cerebral Palsy)
     CP ย่อมาจาก Cerebral Palsy หมายถึง เด็กสมองพิการซึ่งเด็กจะมีการเคลื่อนไหวร่างกายที่ผิดปกติ การขยับแขนขา ลำตัวใบหน้า ลิ้น รวมถึงการทรงตัวที่ผิดปกติ เด็กที่เป็นโรคนี้มักมี ปัญหาในการควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อปัญหาการพูดคุยและการกินและอาจจะมีปัญหาในการควบคุมลมหายใจเพื่อเปล่งเสียง (เรียกกันว่า Dysarthria) ในทางการแพทย์ จัดเด็กพิการ CP เป็นภาวะพิการทางสมองชนิดหนึ่ง เด็กพิการซีพี ส่วนใหญ่สติปัญญาดี ไม่ปัญญาอ่อน ประมาณ 70-80% มีค่า IQ มากกว่า 70 บางรายมีการรับรู้ ความรู้สึกที่ผิดปกติด้วย
     เด็กพิการทางสมองซีพีคือเด็กที่ มีความเสียหายของเนื้อสมองเกิดขึ้นในช่วงอายุที่สมองยังเจริญไม่เต็มที่และจะไม่สามารถคืนสู่สภาพปกติเพราะเซลล์สมองไม่สามารถแบ่งตัว เพิ่มจำนวนแทนที่ส่วนที่เสียหายได้
ข้อมูลเพิ่มเติม : คลิ๊ก , คลิ๊ก

เด็กแอลดี(LD : Learning Disability)
สาเหตุของโรคแอลดี
     เด็กแอลดี (LD : Learning Disability) หรือ เด็กที่อยู่ในภาวะความบกพร่องในการเรียนรู้ เด็กๆ เหล่านี้จะมีสติปัญญาอยู่ในเกณฑ์ปกติหรือฉลาดกว่า แต่การเรียนรู้ในด้านใดด้านหนึ่งหรือหลายๆ ด้านจะช้ากว่าเด็กวัยเดียวกัน
     โรคแอลดีเกิดจากความผิดปกติของสารเคมีในสมอง ยังไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นสมองส่วนใดหรือมีความผิดปกติอย่างไร พบว่ามักจะอยู่ในกลุ่มที่แม่มีปัญหาในระหว่างตั้งครรภ์ มีปัญหาระหว่างคลอดหรือหลังคลอด หรือสมองของเด็กมีการทำงานผิดปกติ โดยอาจเกิดจากการติดเชื้อ อุบัติเหตุ ได้รับสารพิษ เป็นต้น

     เด็กแอลดีไม่ได้เป็นปัญญาอ่อน มีสติปัญญาปกติหรือมากกว่าปกติ และไม่ได้พิการใดๆ ทั้งสิ้น สาเหตุจะต้องมาจากความผิดปกติของสมองเพียงอย่างเดียว ไม่ใช่การอยู่ในวัฒนธรรมหรือสิ่งแวดล้อมที่มีลักษณะด้อยโอกาสในการดูแล หรือ เด็กที่มีความบกพร่องด้านการเรียน อาจเกิดจากระบบการสอนที่ไม่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็กตามวัย อาจเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดความบกพร่องด้านการเรียนได้ เช่น การเร่งให้เด็กเขียนหนังสือในขณะที่พัฒนาการกล้ามเนื้อของเด็กยังไม่พร้อม เป็นต้น จึงไม่จัดอยู่ในกลุ่มของเด็กแอลดี

     โรคแอลดีเป็นโรคที่ติดตัวเด็กไปจนโต การรักษาในวัยเด็กระยะแรกจะสามารถช่วยได้ เพราะเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้อาจประสบความสำเร็จในด้านการเรียนและด้านอื่นๆ ได้ แต่กความบกพร่องทางการเรียนรู้เป็นเสมือนโรคที่ซ่อนเร้น บางครั้งพบว่าเด็กไม่แสดงอาการชัดแจ้ง แต่ควรสังเกตและตรวจสอบตั้งแต่เด็กยังเล็กอยู่ว่าเข้าข่ายเหล่านี้หรือไม่
  • พ่อแม่ คนในครอบครัว หรือญาติผู้ใหญ่ มีประวัติเป็นแอลดี
  • แม่มีอายุน้อยมาก
  • เด็กมีน้ำหนักแรกเกิดเท่าไร น้ำหนักตัวน้อยกว่าเกณฑ์มากไหม
  • เด็กมีภาวะความบาดเจ็บทางสมองจากการคลอดก่อนหรือหลังกำหนด
  • เด็กเคยเป็นโรคที่เกิดจากการอักเสบของอวัยวะ เช่น หู ซึ่งสามารถสร้างความกระทบกระเทือนไปถึงสมองบางส่วนหรือไม่
  • เด็กอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีมลพิษ เช่น มลพิษจากสารตะกั่ว เป็นต้น
ข้อมูลมเพิ่มเติม : คลิ๊ก
                      

เด็กสมาธิสั้น
     โรคสมาธิสั้นคือ กลุ่มอาการที่เกิดขึ้นตั้งแต่วัยเด็ก (ก่อนอายุ 7 ขวบ) ซึ่งจะมีผลกระทบต่อพฤติกรรม อารมณ์ การเรียน และการเข้าสังคมกับผู้อื่นของเด็ก กลุ่มอาการนี้ได้แก่ ขาดสมาธิ (attention deficit), การขาดความสามารถในการควบคุมตัวเอง (impulsivity), อาการซน (hyperactivity) เด็กบางคนอาจจะมีอาการซนและการขาดความสามารถในการควบคุมตัวเองเป็นอาการหลัก ซึ่งพบได้บ่อยในเด็กผู้ชาย หรือบางคนอาจจะมีอาการขาดสมาธิเป็นปัญหาหลัก พบได้บ่อยพอ ๆ กันในเด็กผู้หญิงและเด็กผู้ชาย โรคสมาธิสั้นนี้พบได้บ่อยในทุกประเทศทั่วโลก ในต่างประเทศพบว่าประมาณ 3-5 เปอร์เซ็นต์ของเด็กในวัยเรียน เป็นโรคสมาธิสั้น จะสังเกตได้อย่างไรว่าเด็กเป็นโรคสมาธิสั้นหรือไม่
     1. การขาดสมาธิ (attention deficit) โดยสังเกตพบว่าเด็กจะมีลักษณะดังนี้
- ไม่สามารถทำงานที่ครู หรือพ่อแม่สั่งจนสำเร็จ
- ไม่มีสมาธิในขณะทำงานหรือเล่น
- ดูเหมือนไม่ค่อยฟังเวลาพูดด้วย
- ไม่สามารถตั้งใจฟัง และเก็บรายละเอียดได้ ทำให้ทำงานผิดพลาดบ่อย
- ไม่ค่อยเป็นระเบียบ
- วอกแวกง่าย
- ขี้ลืมบ่อย ๆ
- มีปัญหาหรือพยายามหลีกเลี่ยงงานที่ต้องใช้ความคิดหรือสมาธิ
- ทำของใช้ส่วนตัวหรือของใช้ที่จำเป็นสำหรับงานหรือการเรียนหายอยู่บ่อย ๆ
     2. การซน (hyperactivity) และการขาดความสามารถในการควบคุมตนเอง (impulsivity) เด็กจะมีลักษณะดังนี้- ยุกยิก อยู่ไม่สุข
- นั่งไม่ติดที่ ลุกเดินบ่อย ๆ ขณะอยู่ที่บ้านหรือในห้องเรียน
- ชอบวิ่ง หรือปีนป่ายสิ่งต่าง ๆ
- พูดมาก พูดไม่หยุด
- เล่นเสียงดัง
- ตื่นตัวตลอดเวลา หรือดูตื่นเต้นง่าย
- ชอบโพล่งคำตอบเวลาครูหรือพ่อแม่ถาม โดยที่ยังฟังคำถามไม่จบ
- รอคอยไม่เป็น
- ชอบขัดจังหวะหรือสอดแทรกเวลาผู้อื่นกำลังพูดอยู่
     หากเด็กมีลักษณะในข้อ 1 หรือ 2 รวมกันมากกว่า 6 ข้อ อาการเด็กของท่านมีความเป็นไปได้สูงที่จะเป็นโรคสมาธิสั้น
ข้อมูลเพิ่มเติม : คลิ๊ก

เด็กปัญญาเลิศ
     เด็กปัญญาเลิศ หมายถึง เด็กที่มีความสามารถทางสติปัญญา และความถนัดเฉพาะทางอยู่ระดับสูงกว่าเด็กอื่นในวัยเดียวกัน คำที่ใช้ในความหมายที่มีอยู่หลายคำ เช่น เด็กปัญญาเลิศ เด็กอัจฉริยะ เด็กฉลาด เด็กมีพรสวรรค์ ฯลฯ เมื่อพูดถึงเด็กปัญญาเลิศ ก็มักนึกถึงเด็กที่เรียนเก่ง สอบได้คะแนนดีหรือถือเอาเรื่องของความถนัดเฉพาะทางซึ่งเรียกกันว่า พรสวรรค์ในด้านที่เห็นได้ชัด เช่น ทางศิลปะ และดนตรีเป็นหลัก ดังนั้นเด็กที่ไม่มีโอกาสแสดงความสามารถไม่ว่าทางใด เช่น เด็กยากจน หรือยู่ในสิ่งแวดล้อมจำกัดไม่ได้รับการส่งเสริมให้เป็นเด็กมีความสามารถ ก็ไม่มีโอกาสได้ชื่อว่าเป็นเด็กปัญญาเลิศ แต่เด็กปัญญาเลิศก็ยังคงเป็นเด็กที่มีความต้องการอื่นๆ เหมือนเด็กทั่วๆไป ปัญหาที่พบมักจะเป็นผลจากสิ่งแวดล้อมที่ไม่เข้าใจธรรมชาติของเด็กกลุ่มนี้ และไม่สามารถเอื้ออำนวยต่อความต้องการและความสามารถของเด็กได้อย่างเหมาะสม จึงพบปัญหาการปรับตัวได้ เช่น การแยกตัวจากกลุ่มเพื่อน เบื่อหน่ายการเรียนที่ไม่ได้เรียนสิ่งที่ตนเองสนใจ หรือคับข้องใจที่ได้รับการส่งเสริมแต่เพียงการใช้ความสามารถทางเชาวน์ปัญญา แต่ขาดการตอบสนองทางอารมณ์ตามวัย
ความเป็นเด็กปัญญาเลิศ (gifted) มีลักษณะเด่น 3 อย่าง
     1.เรียนรู้เร็ว (precocious)
     2.มีความสนใจและเรียนรู้ในรูปแบบของตนเอง ไม่ได้เรียนตามแนวทางปกติทั่วๆ ไป
     3.มีความสนใจดื่มด่ำในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นพิเศษ อาจมุ่งมั่นดื่มด่ำมากจนไม่สนใจเรื่องอื่น หรือไม่สนใจโลกภายนอก
ข้อมูลเพิ่มเติม : คลิ๊ก , คลิ๊ก , คลิ๊ก

เด็กออทิสติก (Autistic)

     หมายถึงเด็กที่ไม่สามารถมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น โรคนี้เป็นความผิดปกติในสมองซึ่งมีอาการแสดงและความผิดปกติได้หลายรูปแบบ เด็กจะไม่สามารถเข้าใจคำพูด ความรู้สึกและความต้องการของผู้อื่น การพัฒนาด้านภาษาและสติปัญญาก็ไม่สมบูรณ์ ทำให้เด็กไม่สามารถที่จะสื่อสารกับคนรอบข้างและสังคม เด็กทำบางสิ่งซ้ำๆ
    อาการของเด็กบางคนจะแสดงออกตั้งแต่เกิดแต่ส่วนใหญ่จะแสดงออกเมื่อเด็กอายุ 18-36 เดือนเด็กจะไม่สนใจคนอื่น มีพฤติกรรมแปลกๆ สูญเสียความสามารถทางภาษาและทักษะ ผู้ปกครอง คุณครูรวมทั้งผู้ร่วมงาน ก็มีปัญหากับเด็กที่ไม่สนใจอย่างอื่นนอกจากพฤติกรรมที่ทำซ้ำซาก
     Autism คืออะไร โรค Autism เป็นความผิดปกติในสมอง เด็กที่เป็นจะมีปัญหาเรื่อง การสื่อสาร ความสัมพันธ์ กับคนรอบข้างและสิ่งแวดล้อม เด็กบางคนสามารถสื่อสารกับผู้อื่นและก็มีความฉลาด แต่เด็กบางคนเป็นเด็กปัญญาอ่อน ไม่พูด เด็กบางคนก็มีพฤติกรมทำซ้ำซาก จะเห็นว่าเด็กแต่ละคนมีอาการไม่เหมือนกัน ความรุนแรงไม่เท่ากัน แต่จะมีปัญหาทางสังคม การสื่อสาร พฤติกรรม กล้ามเนื้อและความรู้สึก
ข้อมูลเพิ่มเติม : คลิ๊ก

เด็กที่มีความบกพร่องทางอารมณ์
     เด็กบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ (Children with Behavioral and Emotional Disorders) หมายถึง เด็กที่แสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสม (ต่อต้านตนเองหรือผู้อื่น) หรือมีความรู้สึกนึกคิดที่ผิดไปจากปกติ (แสดงออกถึงความต้องการทำร้ายตนเองหรือผู้อื่น มีความเชื่อมั่นในตนเองต่ำ) ออกมาอย่างเนื่องจนถึงระดับที่ส่งผลกระทบต่อการศึกษาของเด็กไม่ว่าจะเพียงลักษณะเดียว หรือหลายลักษณะร่วมกันก็ได้ เช่น มีความยากลำบากในการเรียน ซึ่งไม่สามารถอธิบายได้ด้วยเหตุผลทางด้านสติปัญญา ประสาทสัมผัส หรือสุขภาพ มีความยากลำบากในการสร้างหรือคงไว้ซึ่งความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเพื่อนและครู แสดงออกถึงภาวะความเครียดและไม่มีความสุขอย่างเป็นปกติ มีแนวโน้มของอาการทางสุขภาพร่างกาย หรือความกลัวอันเป็นผลของปัญหาที่เกิดกับตัวเด็กเองหรือปัญหาที่เกิดในโรงเรียน ซึ่งปัจจุบันมีผู้ปกครองจำนวนไม่น้อยที่ต้องเผชิญกับปัญหาความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ของลูกครั้งแล้วครั้งเล่า ซึ่งปัญหาเหล่านั้น ส่วนใหญ่สามารถได้รับการช่วยเหลือหรือแก้ไขได้ หากเด็กได้รับการรักษาที่ถูกต้อง อย่างไรก็ตาม ปัญหาของเด็กในบางกรณีอาจจะมีความรุนแรง ซึ่งเป็นสัญญาณของปัญหาสำคัญที่เด็กกำลังเผชิญอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากปัญหาความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ของเด็กเรื้อรังติดต่อกันเป็นเวลานานจนกระทั่งเด็กโตเป็นผู้ใหญ่แล้ว ผลเสียที่ตามมาอาจลุกลามไปถึงการสูญเสียของชีวิตก็เป็นได้
ข้อมูลเพิ่มเติม : คลิ๊ก

การนำไปประยุกต์ใช้
     ได้ความรู้เพิ่มเติมและลึกซึ่งยิ่งขึ้นว่าเด็กที่มีความต้องการพิเศษอาการแบบนี้คือเด็กกลุ่มประเภทใด เมื่ออนาคตถ้าเจอกลุ่มเด็กที่มีความต้องการพิเศษ เราสามารถนำความรู้ที่ได้ไปเป็นแนวทางในการรับมือ ดูแล การเข้าหา และแนวทางในจัดกิจกรรมที่ช่วยฝึกพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ ด้านสังคม ด้านสติปัญญา อย่างถูกต้องเหมาะสมต่อไป

การประเมินผล
  • การประเมินตนเอง - การแต่งกายสะอาดเรียบร้อยถูกระเบียบ เข้าห้องเรียนตรงต่อเวลา ตั้งใจฟังเพื่อนแต่ละกลุ่มนำเสนอ
  • การประเมินเพื่อน - การแต่งกายสะอาดเรียบร้อยถูกระเบียบ ไม่คุยกันเสียงดังระหว่างที่เพื่อนแต่ละกลุ่มนำเสนออยู่
  • การประเมินอาจารย์ - การแต่งกายสะอาดสุภาพ เข้าสอนตรงต่อเวลา และให้คำชี้แจงได้ละเอียด
คลิกๆๆ เข้าไปเยี่ยมแฟนเพจกัน...